Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครราชสีมา
P. 9
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2
1.3 ภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของจังหวัดนครราชสีมาเป็นแบบร้อนชื้นหรือภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้า
สะวันนา (Aw) ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
ทำให้อากาศหนาวเย็นและแห้ง และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีอากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกชุกมี
3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม อากาศร้อนอบอ้าว ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่
เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม มีฝนตกชุก มีปริมาณน้ำฝนสูงสุดในเดือนตุลาคม ฤดูหนาว ตั้งแต่
กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ระยะนี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 27.4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.7
องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33 องศาเซลเซียส
1.4 ทรัพยากรดิน
ทรัพยากรดินของจังหวัดนครราชสีมา แบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา และวัตถุ
ต้นกำเนิดดิน ได้ดังนี้
1) ที่ราบน้ำท่วมถึง (Flood plain) ที่ราบริมแม่น้ำหรือลำธาร หน้าฝนหรือหน้าน้ำ มักมี
น้ำท่วมเป็นครั้งคราว เป็นสภาพพื้นที่ที่เกิดจาการทับถมของตะกอนน้ำพา และมีตะกอนเพิ่มมากขึ้น
หลังน้ำท่วม แบ่งเป็น
(1) สันดินริมน้ำ (Levee) เป็นพื้นที่ดอน เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาบริเวณริม
ฝั่งแม่น้ำ เป็นสันนูนขนานไปกับริมฝั่งแม่น้ำ การระบายน้ำค่อนข้างดีถึงดี เนื้อดินค่อนข้างหยาบ อาทิ
ชุดดินชุมพลบุรี (Chp)
(2) ที่ลุ่มหลังสันดินริมน้ำ (Back swamp, basin) เป็นที่ลุ่มน้ำขังอยู่ระหว่างสันดินริมน้ำ
กับตะพักลำน้ำหรือด้านข้างหุบเขา การระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว ดินลึกมาก เนื้อดินเหนียวละเอียด
สีเทาและน้ำตาลปนเทา เช่น ชุดดินพิมาย (Pm) และชุดดินทุ่งสัมฤทธิ์ (Tsr)
2) ที่ราบตะกอนน้ำพา (Alluvial plain) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ำหรือลำน้ำ
สาขา วัตถุต้นกำเนิดดินเป็นตะกอนน้ำพา (Alluvium) มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ำ
แต่ละฝั่งอาจมีที่ราบแบบขั้นบันไดหรือตะพักได้หลายระดับ แบ่งเป็น
(1) ตะพักลำน้ำระดับต่ำ (Low terrace) เป็นที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ การระบายน้ำ
ค่อนข้างเลวถึงเลว ดินลึกมาก เนื้อดินอาจเป็นดินเหนียวละเอียดถึงดินทรายแป้งละเอียด สีเทา
น้ำตาลปนเทา และน้ำตาล มีจุดประสีต่างๆ เช่น ชุดดินหนองกุง (Nkg) และชุดดินหนองบุญนาก
(Nbn)
(2) ตะพักลำน้ำระดับกลางและระดับสูง (Middle and high terrace) เป็นที่ดอน มี
สภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด การระบายน้ำดีปานกลางถึงดี ดินลึกมาก เนื้อดิน
เป็นดินร่วนหยาบ ดินร่วนละเอียดหรือดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล เหลือง น้ำตาลปนแดง
ไปจนถึงแดง เช่น ชุดดินชุมพวง (Cpg) และชุดดินสตึก (Suk)
(3) ลานตะพักปูนมาร์ล (Marl terrace) เป็นที่ดอน มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึง
ลูกคลื่นลอนลาด เป็นดินตื้นถึงชั้นปูนมาร์ลถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นดินเหนียวถึงดินเหนียวปนชิ้นส่วน
หยาบมาก การระบายน้ำดี สีน้ำตาลเข้มและดำ เช่น ชุดดินลพบุรี (Lb) และชุดดินตาคลี (Tk)