Page 13 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครราชสีมา
P. 13
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
6
ตารางที่ 2 พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่ปลูกมาก 4 ลำดับแรกของจังหวัดนครราชสีมา
พืชเศรษฐกิจ เนื้อที่ (ไร่) ร้อยละของพื้นที่เกษตรกรรม
1. ข้าว 3,753,759 42.84
2. มันสำปะหลัง 2,355,351 26.88
3. อ้อยโรงงาน 932,643 10.64
4. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 487,483 5.56
ที่มา: https://agri-map-online.moac.go.th, 2564
2.1 ข้าว
ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็น
ที่ราบลุ่ม มีความเหมาะสมในการปลูกข้าว จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map
Online วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 3)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกข้าว
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 631,483 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.92
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอพิมาย 127,713 ไร่ อำเภอโชคชัย 97,538 ไร่ และ
อำเภอครบุรี 69,723 ไร่
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 1,081,638 ไร่ คิดเป็น
ร้อยละ 10.14 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอพิมาย 166,161 ไร่ อำเภอ
ห้วยแถลง 149,097 ไร่ และอำเภอชุมพวง 105,595 ไร่
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 3,026,791 ไร่ คิดเป็น
ร้อยละ 28.38 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอโนนสูง 315,832 ไร่ อำเภอ
ด่านขุนทด 284,294 ไร่ และอำเภอโนนไทย 225,611 ไร่
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 5,924,943 ไร่
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกข้าวในปัจจุบัน
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) ในการปลูกข้าว มีเนื้อที่ 387,462 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 61.36
ของพื้นที่ศักยภาพสูง พบมากอยู่ในอำเภอพิมาย 97,690 ไร่ อำเภอโชคชัย 75,592 ไร่ และอำเภอ
ครบุรี 50,231 ไร่
(2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) ในการปลูกข้าว มีเนื้อที่ 728,259 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
67.33 ของพื้นที่ศักยภาพปานกลาง พบมากอยู่ในอำเภอพิมาย 156,714 ไร่ อำเภอห้วยแถลง
102,352 ไร่ และอำเภอชุมพวง 91,965 ไร่
(3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) ในการปลูกข้าว มีเนื้อที่ 2,494,701 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
82.42 ของพื้นที่ศักยภาพเล็กน้อย พบมากมากอยู่ในอำเภอโนนสูง 279,526 ไร่ อำเภอด่านขุนทด
219,273 ไร่ และอำเภอประทาย 193,357 ไร่
(4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) ในการปลูกข้าว มีเนื้อที่ 143,337 ไร่
3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกข้าวแต่ยังไม่ใช้พื้นที่ปลูก
พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกข้าว และพื้นที่ปลูกข้าวในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ