Page 10 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครราชสีมา
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                3








                             3) พื้นเกือบราบ (Peneplain) เป็นภูมิลักษณ์ของพื้นผิวดินภายหลังการกร่อน เกิดจาก
                       การผุพังด้วยกระบวนการกร่อนทำลายโดยน้ำ ทำให้พื้นที่สูงเดิมซึ่งขรุขระและสูงต่ำแตกต่างกันมาก มี
                       ระดับต่ำลงจนมีลักษณะคล้ายลูกคลื่นลอนลาดหรือพื้นที่เกือบราบ วัตถุต้นกำเนิดดินเกิดจากการผุพัง
                       สลายตัวอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกล ดินจึงมีลักษณะเด่นตามวัตถุต้นกำเนิดหรือหิน

                       ที่รองรับอยู่ด้านล่างและระดับการพัฒนาตัวของดิน แบ่งเป็น
                                  (1) พื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย การระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงดี
                       ปานกลาง ดินลึกมาก เนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทราย ดินร่วนเหนียว และดินร่วนเหนียวปน
                       ทราย มีสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา ตอนบนพบจุดประสีน้ำตาลหรือแดง ตอนล่างพบจุดประสีน้ำตาล

                       น้ำตาลปนเหลือง และเหลือง และอาจพบศิลาแลงอ่อนในตอนล่างของหน้าตัดดิน เช่น ชุดดิน
                       กุลาร้องไห้ (Ki) และชุดดินประทาย (Pt)
                               (2) พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด ลูกคลื่นลอนชัน และเนินเขา การระบายน้ำค่อนข้างดีถึงดีดิน
                       ลึก เนื้อดินมีทรายปน ได้แก่ ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนปนทราย ดินทรายปนดินร่วน สีน้ำตาล

                       น้ำตาลปนแดง อาจพบจุดประสีต่างๆ ลูกรัง และเศษหินปะปนในตอนล่างของหน้าตัดดิน เช่น ชุดดิน
                       สีคิ้ว (Si) และชุดดินมหาสารคาม (Msk)
                             4) ที่ลาดเชิงเขา (Piedmont) เขา (Hill) ภูเขา (Mountain) มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น

                       ลอนลาดถึงเนินเขา ที่เกิดจากการที่หินผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือถูกเคลื่อนย้ายโดยแรงโน้มถ่วงของ
                       โลกในระยะทางใกล้ๆ และถูกควบคุมด้วยลักษณะของโครงสร้างทางธรณีวิทยา ส่วนใหญ่พบหิน
                       ปะปนในหน้าตัดดินและลอยหน้า แบ่งตามลักษณะและชนิดของหินดังนี้
                               (1) พัฒนาจากหินทราย ดินมีการระบายน้ำดี สีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง เหลือง น้ำตาล
                       ปนแดง เหลืองปนแดง จนถึงแดง เนื้อดินมีทรายปนอย่างชัดเจน พบเศษหินปะปนในหน้า

                       ตัดดินหรือบนผิวดิน ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด เช่น ชุดดินวังน้ำเขียว (Wk) และ
                       ชุดดินภูพาน (Pu)
                               (2) พัฒนาจากหินทรายแป้ง ดินมีการระบายน้ำดีปานกลางถึงดี สีน้ำตาล น้ำตาล

                       ปนแดง น้ำตาลปนเหลือง เนื้อดินมีทรายแป้งปนอย่างชัดเจน ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็น
                       ด่างปานกลาง บางบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากปูน ดินจะทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ บางบริเวณมีการ
                       ดัดแปลงสภาพพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำนา เช่น ชุดดินจัตุรัส (Ct) และชุดดินเทพารักษ์ (Tpr)
                               (3) พัฒนาจากหินดินดาน ดินมีการระบายน้ำดีปานกลางถึงดี สีน้ำตาล น้ำตาลปน

                       เหลือง น้ำตาลปนแดง เหลือง หรือแดง เป็นดินเหนียว ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง
                       เช่น ชุดดินวังสะพุง (Ws) และชุดดินมวกเหล็ก (Ml)
                               (4) พัฒนาจากหินปูน ดินมีการระบายน้ำดี ดินลึกมาก สีดำ น้ำตาล น้ำตาลปนแดงถึง
                       แดง บางบริเวณพบฐานของชั้นหินปูนในตอนล่างของหน้าตัดดิน ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึง

                       เป็นด่างปานกลาง อาทิ ชุดดินปากช่อง (Pc)
                               (5) พัฒนาจากหินบะซอลต์/แอนดิไซต์ ดินมีการระบายน้ำดี ดินตื้นถึงชั้นเศษหินถึงลึก
                       มาก เนื้อดินเป็นดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง น้ำตาลปนแดง เช่น ชุดดิน
                       โชคชัย (Ci) และชุดดินศรีสะเกษ (Ssk)
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15