Page 12 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครราชสีมา
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                5








                         1.7  เขตปฏิรูปที่ดิน

                             เขตปฏิรูปที่ดินในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ 3,883,111 ไร่ (ร้อยละ 30.32 ของ
                       พื้นที่จังหวัด) โดยอำเภอที่มีพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน มากที่สุดได้แก่ อำเภอปากช่อง อำเภอหนองบุญมาก
                       และอำเภอครบุรี ตามลำดับ (ตารางผนวกที่ 4)

                         1.8  การขึ้นทะเบียนเกษตรกร
                             จากฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา มีการขึ้น

                       ทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ทั้งหมดในปี 2563 จำนวน 453,719 ราย รวมพื้นที่
                       6,597,810 ไร่ กิจกรรมที่มีพื้นที่ปลูกมาก ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน
                       ยางพารา ยูคาลิปตัส ตามลำดับ (ตารางผนวกที่ 5)
                             ทะเบียนเกษตรกรพืชสมุนไพร จากฐานข้อมูลกลาง (Farmer One) ของสำนักงาน

                       เศรษฐกิจการเกษตร เกษตรกรได้ขึ้นทะเบียนปลูกพืชสมุนไพรในจังหวัดนครราชสีมา พื้นที่ 1,046 ไร่
                       เกษตรกร 100 ราย มีพืชสมุนไพรหลัก 18 ชนิด พืชสมุนไพรที่มีการปลูกมาก ได้แก่ พริกไทย ขมิ้นชัน
                       อบเชย ตามลำดับ (ตารางผนวกที่ 6)

                         1.9  ที่ตั้งโรงงานและแหล่งรับซื้อสินค้าเกษตร

                             จังหวัดนครราชสีมามีแหล่งรับซื้อสินค้าเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่สำคัญ จำนวน 265
                       แห่ง (ตารางผนวกที่ 7)


                       2. การวิเคราะห์พืชเศรษฐกิจหลัก

                         พืชเศรษฐกิจที่สำคัญพิจารณาจากพืชที่มีพื้นที่ปลูกมากและมีมูลค่าการส่งออกหรือแปรรูป
                       โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศพืชเศรษฐกิจ 13 ชนิดพืช ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง
                       ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สับปะรดโรงงาน ลำไย เงาะ ทุเรียน มังคุด

                       มะพร้าว และกาแฟ จากพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจดังกล่าว กรมพัฒนาที่ดินได้กำหนดระดับความ
                       เหมาะสมของพื้นที่ปลูกรายจังหวัด โดยวิเคราะห์จากสภาพพื้นที่ ลักษณะของดิน ปริมาณน้ำฝน
                       แหล่งน้ำชลประทาน ร่วมกับการจัดการพื้นที่และลักษณะรายพืช โดยแบ่งระดับความเหมาะสม เป็น
                       4 ระดับ ได้แก่

                         ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) การปลูกพืชให้ผลตอบแทนสูง
                         ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) การปลูกพืชให้ผลตอบแทนสูง แต่พบข้อจำกัด
                       บางประการซึ่งสามารถบริหารจัดการได้
                         ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีข้อจำกัดบางประการของดินและน้ำ ส่งผลให้

                       การผลิตพืชให้ผลตอบแทนต่ำ การใช้พื้นที่ต้องใช้ต้นทุนสูงในการจัดการ และมีความเสี่ยงจากน้ำท่วม
                       และขาดน้ำ
                         ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N)
                         จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่พืชเศรษฐกิจสำคัญที่ปลูกมาก 4 ลำดับแรก ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง

                       อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตามลำดับ (ตารางที่ 2)
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17