Page 48 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดขอนแก่น
P. 48

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               42








                         4.2  อ้อยโรงงาน
                           1) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงานอยู่
                       มีเนื้อที่ 1,649 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอําเภอน้ําพอง อําเภอบ้านฝาง และอําเภอซําสูง ตามลําดับ
                       ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็น

                       แหล่งผลิตอ้อยโรงงานคุณภาพดีที่สําคัญของจังหวัด ควรมีการจัดการดินและปุ๋ย พันธุ์อ้อยโรงงาน
                       คุณภาพดีและต้านทานโรค โดยรวมกลุ่มเป็นระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เพื่อลดต้นทุน
                       การผลิต พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยว โดยใช้
                       เครื่องจักร เพื่อลดปัญหาแรงงาน การแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทํามาตรฐานสินค้า

                       เกษตรอินทรีย์ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาควรส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกตามการ
                       ปฎิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) เนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง
                           2) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกอ้อย
                       โรงงานอยู่มีเนื้อที่ 869,446 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอําเภอกระนวน อําเภอสีชมพู และอําเภอน้ําพอง

                       เกษตรกรยังคงปลูกอ้อยโรงงานได้ผลดี หลายพื้นที่ประสบปัญหาขาดน้ําในบางช่วงของการเพาะปลูก
                       การสนับสนุนด้านการพัฒนาคุณภาพของที่ดินและระบบชลประทาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับ
                       เกษตรกรในการใช้ที่ดิน ซึ่งจะส่งผลให้ปัญหาการละทิ้งถิ่นฐานลดลง ควรส่งเสริมการปรับปรุงบํารุงดิน

                       ในไร่อ้อย เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต
                           3) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 และ N) แต่ปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้
                       ที่ดินปลูกอ้อยโรงงานอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ําซาก เช่น น้ําท่วม ขาดน้ํา ผลผลิตต่ํา
                       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทํากินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับ
                       โครงสร้างที่ดินสนับสนุนแหล่งน้ํา ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสมให้

                       ผลตอบแทนที่ดีกว่า และใช้พื้นที่เพื่อผลิตอาหารบริโภคในครัวเรือน รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลด้าน
                       การตลาดของพืชชนิดใหม่
                           4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสําหรับการปลูกอ้อยโรงงาน แต่ปัจจุบัน

                       เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน โดยเกษตรกรใช้พื้นที่ดังกล่าวในการปลูกข้าวและยางพารา
                       ทั้งนี้ภาครัฐควรให้ความรู้แก่เกษตรกรในการปรับปรุงบํารุงดิน และสร้างแรงจูงใจให้กลับมาปลูก
                       อ้อยโรงงาน เนื่องจากเป็นพื้นที่มีความเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ใช้ต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตมีคุณภาพดี
                       ทั้งนี้เกษตรกรต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53