Page 45 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดขอนแก่น
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               39








                       ผลผลิต ซึ่งจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไปได้ทุก 15 วันตลอดทั้งปี จากผลผลิตโกโก้ที่ออกมาเป็น
                       จํานวนมาก สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เมล็ดโกโก้อบแห้ง โกโก้กะเทาะเปลือก (cocoa nibs)
                       เนื้อโกโก้ ช็อกโกแลตโฮมเมด โกโก้ผง ช็อกโกแลตเจ (vaggiechoco) และเนยโกโก้

                         3.3  ถั่วเหลือง เป็นพืชเศรษฐกิจ 1 ใน 5 พืชที่อาเซียนจัดเป็นพืชนําร่องที่มีความสําคัญเพื่อสร้าง
                       ความมั่นคงทางอาหารของภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากเป็นพืชสําคัญที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและใช้

                       กับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์อุตสาหกรรมน้ํามันพืช และอุตสาหกรรมอาหารมนุษย์ แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า
                       ปัจจุบันอัตราการเติบโตของพื้นที่ปลูกในประเทศไทยลดลงมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน
                       ซึ่งปัจจุบันและอนาคตไทยยังมีความจําเป็นต้องนําเข้าผลผลิตจากต่างประเทศเป็นจํานวนมาก
                       โดยเฉพาะจากประเทศที่ปลูกถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม ทําให้สูญเสียเงินตราต่างประเทศ และมี

                       ความเสี่ยงสูงมากในด้านการนําเข้าในประเทศอย่างยั่งยืน

                         3.4  ถั่วเขียว เป็นพืชหนึ่งที่อยู่ในสถานภาพที่ขาดความมั่นคงของอุปทาน เนื่องจากผลผลิต
                       ภายในประเทศมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในขณะที่อุปสงค์เพิ่มขึ้น จากข้อมูลสถานการณ์การผลิต
                       และส่งออก ดูเหมือนจะไม่ขาดแคลนและยังมีการส่งออกในปริมาณมากด้วย แต่ข้อเท็จจริงแล้วมีการ
                       ใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารลดลงเนื่องจากมีอุปทานของผลผลิตและราคาที่ไม่แน่นอน จึงทําให้

                       ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแปรรูป โดยเฉพาะการผลิตวุ้นเส้นหันไปใช้วัตถุดิบอื่นที่มีราคาถูกกว่าแทน

                         3.5  ถั่วลิสง มีความสําคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศ และอุตสาหกรรม
                       ในด้านนี้ของไทยยังมีศักยภาพอีกมากในการผลิต เพื่อบริโภคและส่งออก แต่สถานการณ์การผลิต
                       ณ ปัจจุบันมีการผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง ทําให้ประเทศไทยต้องนําเข้าถั่วลิสงในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ปัญหา
                       การผลิตในประเทศ คือการขาดแคลนพันธุ์ดีและเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพเหมาะแก่การเพาะปลูก ตลอดจน

                       เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวที่ลดการสูญเสีย และประหยัดแรงงานโดยเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร
                       ขนาดเล็กในการปลูกและเก็บเกี่ยว

                           การเพิ่มการผลิตพืชตระกูลถั่วทั้ง 3 ชนิดยังคงมีความเป็นไปได้อีกมาก รวมทั้งการเพิ่ม
                       ประสิทธิภาพจากการผลิต ที่ในปัจจุบันยังถือได้ว่าอยู่ในระดับต่ํา จะทําให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย
                       ผลผลิตลดลง และผลผลิตที่ได้มีคุณภาพสูงขึ้นจะส่งผลให้ราคาผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรดีขึ้น

                       แต่ปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตของพืชนั้นคือ ต้องมีการเร่งรัดพัฒนาพันธุ์ใหม่ของถั่วเหลือง
                       ถั่วเขียว และถั่วลิสง และทําการผลิตเมล็ดพันธุ์ดีให้พอเพียงต่อความต้องการของเกษตรกร สําหรับ
                       ปัญหาด้านต้นทุนค่าแรงแพงนั้น ก็ได้มีการพัฒนาเครื่องปลูกและเครื่องเก็บเกี่ยวเข้าไปทดแทน

                       แรงงานบางส่วนอยู่บ้างแล้ว ส่วนปัญหาเกี่ยวกับนโยบายการแทรกแซงราคา หรือประกันราคาพืช
                       เศรษฐกิจชนิดอื่นที่มีผลกระทบทําให้พื้นที่เพาะปลูกของพืชทั้ง 3 ชนิดลดลง ถ้ามีการยกเลิกและ
                       ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาดแล้วก็คาดว่าเกษตรกรจะหันมาปลูกพืชทั้ง 3 ชนิดเพิ่มขึ้นอีกมาก

                           การที่ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสงนั้นไม่ได้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญ จึงทําให้ได้รับ
                       การสนับสนุนจากภาครัฐไม่เพียงพอ อีกทั้งยังได้ผลตอบแทนต่ําสู้การปลูกพืชแข่งขันชนิดอื่นไม่ได้

                       เกษตรกรส่วนใหญ่จึงไม่สนใจที่จะปลูกเป็นพืชหลัก แต่ข้อเท็จจริงถั่วทั้ง 3 ชนิด เป็นพืชที่มีข้อดี ที่สําคัญ
                       คือ ช่วยบํารุงดิน จึงส่งผลดีต่อพืชหลักที่ปลูกสลับกับการปลูกถั่ว ทําให้พืชหลักได้ผลผลิตสูงขึ้น ดังนั้น
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50