Page 43 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดขอนแก่น
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               37








                           4) แนวทางการจัดการ
                           (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
                       เกษตรกรปลูกยางพาราต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต และ
                       ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนําไปสู่การต่อยอด

                       โครงการที่สําคัญต่าง ๆ ได้ เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยํา เป็นต้น
                             พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกยางพารา
                       ในที่ดินที่ไม่มีข้อจํากัดทางกายภาพต่อการปลูกยางพารา ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกยางพาราที่
                       สําคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอําเภอน้ําพอง อําเภอซําสูง และอําเภอชุมแพ เป็นต้น

                             พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูกยางพารา
                       ในที่ดินที่มีข้อจํากัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกยางพารา เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความ
                       เป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ํา โดยกระจายอยู่ในอําเภอกระนวน อําเภอน้ําพอง และอําเภออุบลรัตน์
                       เป็นต้น

                           (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
                       เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูก
                       ยางพารา มีต้นทุนที่ต่ํา และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48