Page 50 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดขอนแก่น
P. 50

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               44








                         4.4  ยางพารา
                           1) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่
                       มีเนื้อที่ 129 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอําเภอน้ําพอง อําเภอซําสูง และอําเภอชุมแพ ตามลําดับ ทั้งนี้
                       โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งปลูก

                       ยางพาราคุณภาพดีที่สําคัญของจังหวัด ควรมีการจัดการดินและปุ๋ย พันธุ์คุณภาพดี ความรู้ด้านการ
                       ปรับปรุงบํารุงดินที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สนับสนุนการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่เพื่อลดต้นทุน
                       การผลิตและสร้างความเข้มแข็ง พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป
                       แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทํามาตรฐานสินค้าเกษตร และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนา

                       ควรส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกตามการปฎิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices :
                       GAP) เนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง
                           2) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่
                       มีเนื้อที่ 58,728 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอําเภอกระนวน อําเภอน้ําพอง และอําเภออุบลรัตน์ เกษตรกร

                       ยังคงปลูกยางพาราได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาโครงสร้างของดิน ส่งเสริมการปรับปรุงบํารุงดิน
                       และการสนับสนุนอินทรียวัตถุจะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน สนับสนุนการ
                       พัฒนาการตลาดในพื้นที่ให้เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้ปัญหาการละทิ้งถิ่นฐานลดลง

                           3) พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ําซาก เช่น น้ําท่วม ขาดน้ํา ผลผลิตต่ํา
                       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทํากินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับ
                       โครงสร้างที่ดิน สนับสนุนแหล่งน้ํา ส่งเสริมให้มีการโคนยางพาราที่มีอายุมากและสนับสนุนให้
                       เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า และใช้พื้นที่เพื่อผลิต

                       อาหารบริโภคในครัวเรือน รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลด้านการตลาดของพืชชนิดใหม่
                           4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสําหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบันเกษตรกร
                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกยางพารา โดยเกษตรกรใช้พื้นที่ดังกล่าวในการปลูกข้าวและอ้อยโรงงาน ในส่วนนี้

                       ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์ด้านการเกษตรในปัจจุบัน โดยเฉพาะยางพาราเป็นพืชที่มี
                       นโยบายลดพื้นที่ปลูกเนื่องจากมีปริมาณผลผลิตมากส่งผลให้ราคาตกต่ํา แต่ในอนาคตถ้าราคาดีและ
                       ตลาดมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นอาจอาจสนับสนุนให้เกษตรกรกลับมาปลูกยางพาราหรือทําการเกษตร
                       แบบผสมผสานได้
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55