Page 33 - การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล Soil Organic Matter Management for Sweet Corn Production in Organic Agriculture System, Sutun Province.
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          26



                    หมายเหตุ   ** หมายถึง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P<0.01)
                               ค่าเฉลี่ยในคอลัมน์เดียวกันที่ตามด้วยอักษรเดียวกัน ไม่แตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น
                               95% โดยวิธี DMRT























                  ภาพที่ 3 น้ำหนักผลผลิตข้าวโพดหวานปอกเปลือกต่อไร่

                  4. คุณภาพผลผลิต


                         งานวิจัยนี้ทำการทดลองเป็นเวลา 2 ปี ได้ทำการเก็บด้านคุณภาพผลผลิตของข้าวโพดหวาน  โดยการเก็บ
                  ข้อมูลความยาวฝัก  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางฝัก และความหวานเมล็ดสดของข้าวโพด
                         4.1 ความยาวฝักข้าวโพดหวาน
                         การวัดความยาวฝักข้าวโพดหวาน  วัดตามมาตรฐานสินค้าเกษตร ที่ มกษ. 1512-2554  โดยสานักงาน

                  มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดว่า  ความยาวของฝักปอกเปลือก วัด
                  จากโคนฝักที่ติดเมล็ดถึงปลายฝักที่ติดเมล็ด  สำหรับเครื่องมือที่ในการวัดความยาวของฝักข้าวโพดหวาน ที่ใช้กันอยู่
                         1. ไม้บรรทัด ที่มองเห็นตัวอักษรที่ชัดเจน มีความคมชัด ตรงได้มาตรฐาน วางลงบนพื้นที่เรียบเสมอ หรือ วาง
                  ลงบนวัสดุผิวเรียบอีกทีก่อนทำการวัดความยาว
                         2. การใช้เครื่องมือที่มีความละเอียด และได้มาตรฐานสำหรับวัดวัสดุรูปทรงกระบอก คือ เวอร์เนียร์
                  จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ พบว่า ผลการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติในตำรับการทดลองที่ 8 การใส่ปุ๋ย
                  อินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ  ตำรับการทดลองที่ 1 การใส่ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา

                  2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน ตำรับการทดลองที่ 4 การใส่ ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.
                  ต่อไร่ ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน  ตำรับการทดลองที่ 2 การใส่ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับ
                  น้ำหมักชีวภาพ และตำรับการทดลองที่ 7 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับกลบตอซัง
                  ข้าวโพดหวาน มีความยาวฝักเท่ากับ  14.49, 15.17, 15.49 ,15.67 และ 15.67 ซม. ตามลำดับ (ตารางที่ 10) ผลการ
                  ทดลองมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งในตำรับการทดลองที่  5 การใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.
                  ต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ  ตำรับการทดลองที่ 6 การใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ยสด
                  และน้ำหมักชีวภาพ ตำรับการทดลองที่  3  การใส่ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ยสด ร่วมกับน้ำ
                  หมักชีวภาพ และตำรับการทดลองที่ 9 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ยสดและน้ำ
                  หมักชีวภาพ มีความยาวฝักเท่ากับ 13.56, 12.54, 12.21 และ 11.77  ซม. ตามลำดับ (ตารางที่ 10)
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38