Page 28 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทรายจัดต่อการผลิตข้าวโพดหวานในจังหวัดสงขลา Effect of bio-organic fertilizers on change for soil properties in sandy soils to increase sweet corn yield at Songkhla province.
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                 25



                                   1.2 ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (%OM)
                                         จากผลการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินก่อนด าเนินการทดลองในปีที่ 1 พบว่า ในดิน

                     ก่อนการทดลองมีปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับค่อนข้างต ่า มีค่าเท่ากับ 1.19 เปอร์เซ็นต์ (ส านักวิทยาศาสตร์

                     เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน 2547) ซึ่งหลังการทดลองปีที่ 1 พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุทุกต ารับมีค่า
                     ไม่แตกต่างต่างกันทางสถิติ โดยปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกต ารับการทดลอง กล่าวคือ

                     ต ารับที่ 1 ที่มีการใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 4,000 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับน ้าหมักชีวภาพ พด.2 มีค่าปริมาณอินทรียวัตถุ

                     เพิ่มขึ้นสูงสุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.093 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาได้แก่ ต ารับที่ 6 ที่มีการใส่ปุ๋ยหมัก พด.1 อัตรา
                     4,000 กิโลกรัม ร่วมกับการใช้พืชปุ๋ยสด และน ้าหมัก พด.2, ต ารับที่ 7 ที่มีปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300

                     กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับสับตอซังข้าวโพดหวาน และน ้าหมักชีวภาพ พด.2  และต ารับที่ 8  ที่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์

                     คุณภาพสูง อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน และน ้าหมักชีวภาพ พด.2 มีค่าเฉลี่ย
                     เท่ากับ 1.62,1.56 และ 1.53 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ ส่วนต ารับที่ 3 ที่มีการใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300

                     กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน มีค่าการเพิ่มขึ้นของปริมาณอินทรียวัตถุน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ย

                     เท่ากับ 1.39 เปอร์เซ็นต์ หลังการทดลองในปีที่ 2 พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุทุกต ารับมีค่าไม่แตกต่างต่างกัน
                     ทางสถิติ แต่มีปริมาณอินทรียวัตถุมีแนวโน้มลดลงในทุกต ารับการทดลอง กล่าวคือ  ต ารับที่ 2 ที่มีการใส่ปุ๋ย

                     หมัก พด.1 อัตรา 4,000 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับน ้าหมักชีวภาพ พด.2 มีปริมาณอินทรียวัตถุสูงที่สุด มีค่าเฉลี่ย

                     เท่ากับ 1.43 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา ต ารับที่ 7 ที่มีปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับสับตอซัง
                     ข้าวโพดหวาน และน ้าหมักชีวภาพ พด.2 ,ต ารับที่ 8  ที่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่

                     ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน และน ้าหมักชีวภาพ พด.2 และต ารับที่ 5 ที่มีการใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 4,000

                     กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) และน ้าหมักชีวภาพ พด.2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.41 ,1.40 และ 1.39
                     เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ ส่วนต ารับที่ 4 ที่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับสับกลบ

                     ตอซังข้าวโพดหวาน มีค่าปริมาณอินทรียวัตถุน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.246 เปอร์เซ็นต์  ( ภาพที่ 3 และ

                     ตารางที่ 4 )
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33