Page 26 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด Study efficiency of Bio- fertilizer to increase growth and rice (Khao Dok Mali 105) yield and sandy loam soil, Roi Et Province.
P. 26
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5. ปริมาณธาตุอาหารในเมล็ดข้าว ปี 2561
5.1 ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในเมล็ดข้าว ปี 2561 (ปีที่ 1) มีค่าไม่แตกต่างกัน (ตาราง
ที่ 18) ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากดินหลังการทดลองในทุกต ารับมีค่า pH ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ซึ่งค่า pH อยู่ในเกณฑ์
เป็นกรดปานกลาง กรดเล็กน้อย และเป็นกลาง (ตางรางที่ 1) ซึ่งช่วง pH ดังกล่าว ส่งผลดีต่อระดับความเป็น
ประโยชน์ของธาตุอาหารต่างๆ ในดิน พืชจึงสามารถดูดซึมไปใช้ได้ง่าย ท าให้มีการสะสมธาตุอาหารดังกล่าวในเมล็ด
ข้าวได้ดีเช่นเดียวกัน จึงมีปริมาณที่ไม่แตกต่างกัน
ตารางที่ 18 ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในเมล็ดข้าว ปี 2561
ปริมาณธาตุอาหารในเมล็ดข้าว (%)
ต ารับการทดลอง
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
T1 ควบคุม 1.20 0.41 0.37
T2 ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน 1.30 0.29 0.28
T3 ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบน้ า 1.35 0.38 0.35
T4 ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบน้ า + ปุ๋ยเคมี 50 % 1.26 0.40 0.33
T5 ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบน้ า + ปุ๋ยเคมี 70 % 1.37 0.34 0.33
T6 ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผง 1.20 0.45 0.33
T7 ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผง + ปุ๋ยเคมี 50 % 1.28 0.34 0.27
T8 ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผง + ปุ๋ยเคมี 70 % 1.40 0.36 0.32
F-test ns ns ns
C.V. (%) 11.53 25.56 22.03
หมายเหตุ : ns หมายถึงค่าเฉลี่ยไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
5.2 ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในเมล็ดข้าว ปี 2562 (ปีที่ 2) พบว่า ไนโตรเจน
ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในเมล็ดข้าว มีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (ตารางที่ 19) เมื่อพิจารณาค่าไนโตรเจน
ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในเมล็ดข้าว พบว่า ต ารับที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผง ร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ ของ
ค่าวิเคราะห์ดิน (ต ารับที่ 7) ท าให้เมล็ดข้าวมีปริมาณไนโตรเจนฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมดีที่สุด เท่ากับ 0.98,
0.52 และ 0.63 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ แต่อย่างไรก็ตามไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในเมล็ดข้าวมีค่าไม่
แตกต่างกับต ารับที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผง ร่วมกับปุ๋ยเคมี 70 เปอร์เซ็นต์ ของค่าวิเคราะห์ดิน (ต ารับที่ 8) ซึ่งส่งผลให้
เมล็ดข้าวมีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เท่ากับ 0.96, 0.62 และ 0.51 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ
หากพิจารณาถึงต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมด้วยแล้ว พบว่า การใช้ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผง ร่วมกับปุ๋ยเคมี 50
เปอร์เซ็นต์ ของค่าวิเคราะห์ดิน (ต ารับที่ 7) เป็นต ารับที่มีต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีต่ ากว่า เกิดความคุ้มค่า จึงเป็นวิธีการที่ควร
แนะน าให้เกษตรกรเลือกใช้ ประกอบกับการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งอะโซสไปริลลัม (Azospirillum sp.) เป็นแบคทีเรียชนิด
หนึ่งที่อาศัยอยู่ในบริเวณรอบรากพืชที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้โดยอิสระ ผลิตฮอร์โมนพืช ส่งเสริมการเจริญเติบโต
และผลผลิตของพืช (พรรณปพร และคณะ, 2563) และมีซิลิเกตแบคทีเรียที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ลด
ผลกระทบด้านความเครียดต่างๆ (ความแห้งแล้ง ความเค็ม ความเป็นพิษของโลหะหนัก) และเพิ่มกลไกการป้องกัน
พืช นอกจากนี้จะเห็นได้ว่า ดินหลังด าเนินการทดลองในต ารับดังกล่าวมีความเป็นกรดปานกลาง กรดเล็กน้อย และ
เป็นกลาง (ตารางที่ 1) ซึ่งค่า pH ดังกล่าว ท าให้ระดับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารต่างๆ ในดินเพิ่มขึ้น ช่วย
ส่งเสริมให้ธาตุอาหารอยู่ในรูปที่ง่ายส าหรับพืชที่จะดูดซึมมาใช้ประโยชน์และเก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆ เช่น เมล็ดข้าว