Page 30 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด Study efficiency of Bio- fertilizer to increase growth and rice (Khao Dok Mali 105) yield and sandy loam soil, Roi Et Province.
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                         5.  ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพส าหรับนาข้าว ประกอบด้วยเชื้อราเอนโดไฟต์ (P11) แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน
                   (Azospirillium  sp. (42)) และแบคทีเรียละลายซิลิเกต (Bacillus  megaterium  (CP  31/1)) ไม่มีต่อการ

                   เจริญเติบโต ผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย ชุดดินโนนแดงที่มีศิลาแลง
                   อ่อน (Ndg-pic-lsB) กลุ่มชุดดินที่ 40 จังหวัดร้อยเอ็ด แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพฯ ส าหรับนาข้าว
                   รูปแบบผงแห้งละลายน้ า ร่วมกับปุ๋ยเคมี 50  เปอร์เซ็นต์ ตามค่าวิเคราะห์ดิน ให้ผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105  ไม่
                   แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ ดังนั้น การใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพส าหรับนาข้าว รูปแบบผงแห้งละลาย
                   น้ า ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์
                         6. ข้อเสนอแนะ ส าหรับงานวิจัยนี้ คือ 1) ควรใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพส าหรับนาข้าว รูปแบบผงแห้งละลายน้ า
                   ซึ่งสามารถเก็บรักษาได้ง่าย และสะดวกต่อการใช้งานในพื้นที่จริง 2) เมื่อมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพส าหรับนา
                   ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทรายแล้ว ควรมีการ
                   ต่อยอดงานวิจัยนี้ด้วยการทดสอบในแปลงสาธิตระดับไร่นาของเกษตรกรเพิ่มเติม เพื่อเป็นการยืนยันประสิทธิภาพ
                   ของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพส าหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย

                   3) การปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่นาข้าวที่มีลักษณะเนื้อดินร่วนปนทราย หรือดินทรายปนดินร่วน ซึ่ง
                   เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า สมบัติทางกายภาพไม่ดี ในฤดูแล้งดินจะแห้งจัด เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ าส าหรับพืช
                   ในฤดูการเพาะปลูก ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมี ใส่เป็นจ านวนมากต่อไร่ เพื่อ
                   ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีของดินให้ดีขึ้น และจัดหาแหล่งน้ าให้พอเพียงกับความต้องการของข้าว
                   โดยเฉพาะช่วงที่ข้าวมีเจริญเติบโต และเข้าสู่ระยะข้าวตั้งท้อง หากเกษตรกรสามารถจัดการและดูแลพืชในพื้นที่
                   ดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวิธีการข้างต้นแล้ว จะช่วยลดข้อจ ากัดการใช้ประโยชน์ลงได้


                                                         ประโยชน์ที่ได้รับ

                         1. ได้ทราบแนวทางในการจัดการดิน เพื่อเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วน
                   ปนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด
                         2.  ได้อัตราและวิธีการใช้ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพส าหรับนาข้าวที่เหมาะสมกับข้าวขาวดอกมะลิ
                   105 ในดินร่วนปนทราย อย่างไรก็ตามเพื่อให้การใช้ปุ๋ยชีวภาพเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควรต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ 4
                   ประการ ได้แก่ 1) ใช้ชนิดหรือรูปแบบปุ๋ยชีวภาพที่เหมาะสม 2) ใช้ปุ๋ยชีวภาพในปริมาณที่เหมาะสม 3) ใส่ให้กับข้าว
                   ในระยะที่เหมาะสม และ 4) ใส่ให้ข้าวด้วยวิธีการที่ถูกต้อง

                         3. ทราบถึงประสิทธิภาพของปุ๋ยชีวภาพส าหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ
                   105 ในดินร่วนปนทราย
                         4. เพิ่มทางเลือกแก่เกษตรกรที่ต้องการลดต้นทุนการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105  โดยไม่ส่งผลกระทบต่อ
                   ผลผลิต
                         5. เป็นแนวทางการพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105
                         6. ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรเจ้าของแปลงวิจัย รวมทั้งเกษตรกรที่ปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ
                   105  ในพื้นที่นาข้าวที่มีลักษณะเนื้อดินร่วนปนทราย หรือดินทรายปนดินร่วน และบุคคลผู้ที่สนใจใฝ่รู้ ตลอดจน

                   เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สามารถน าความรู้จากการวิจัยนี้ไปปรับหรือประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริม
                   อาชีพทางการเกษตรได้

                                                      การเผยแพร่ผลงานวิจัย


                         คณะผู้วิจัยได้ด าเนินการเผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการกรมพัฒนาที่ดิน ปี 2564 และผ่านสื่อ
                   โซเชียลออนไลน์ของส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 ได้แก่ เว็บไซต์ของส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 เพจกลุ่มวิชาการเพื่อ
                   การพัฒนาที่ดิน ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 4
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35