Page 7 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย จังหวัดสุรินทร์ Study efficiency of bio-fertilizer to increase growth and rice (Khao Dawk Mali 105) yield inSandy Loam soil, Surin Province.
P. 7

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                          การตรวจเอกสาร

                   1. ความสำคัญของข้าวขาวดอกมะลิ 105
                          ข้าวหอมมะลิไทย (Thai Hom Mali Rice) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Oryza  sativa L. ที่กรมวิชาการเกษตร
                   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศรับรองพันธุ์ว่าเป็นพันธุ์ข้าวหอม คือ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข.15  ซึ่งมี
                   กลิ่นหอมตามธรรมชาติ (บุณดิษฐ์, 2550)  แหล่งเพาะปลูกดั้งเดิม อยู่ที่บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา  มีชื่อเดิมว่า ข้าวขาว
                   ดอกมะลิ 105 โดย นายจรูญ ตัณฑวุฒ ได้นำมาปลูกไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 เป็นที่นิยมในท้องถิ่น ต่อมา นายสุนทร สีหะ
                   เนิน เกษตรอำเภอบางคล้า ได้เก็บรวบรวมข้าว 199 รวง ในฤดูทำนาปี 2493-2494 ส่งไปคัดพันธุ์ที่สถานีข้าวโคกสำโรง
                   เมื่อปี 2498 จากนั้นจึงนำมาเปรียบเทียบพันธุ์ในปี 2500-2502 ในที่สุดคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ข้าวพบว่าข้าวขาว
                   ดอกมะลิรวงที่ 105 เป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในเรื่องความหอมและคุณภาพของเมล็ด จึงอนุญาตให้ใช้ขยายพันธุ์ได้ ตั้งแต่

                   วันที่ 25 พฤษภาคม 2502 เป็นต้นมา ลักษณะสำคัญโดยทั่วไปของข้าวหอมมะลิ จะเป็นข้าวเมล็ดยาว โดยมีความยาว
                   เฉลี่ยของข้าวเต็มเมล็ดที่ไม่มีส่วนใดหัก ต้องไม่ต่ำกว่า 7.0 มิลลิเมตร และมีอัตราส่วนความยาวเฉลี่ยต่อความกว้างเฉลี่ย
                   ของเมล็ดที่ไม่มีส่วนใดหักต้องไม่ต่ำกว่า 3.0 มิลลิเมตร มีปริมาณแป้งอมิโลส (Amylose) ต่ำอยู่ระหว่าง 12-19 เปอร์เซ็นต์
                   ที่ระดับความชื้น 14.0 เปอร์เซ็นต์   เมื่อหุงสุกจะได้เมล็ดข้าวสุกที่อ่อนนุ่ม ยาวเรียว และมีกลิ่นหอม แม้ข้าวหอมมะลิ จะ
                   เป็นข้าวที่มีคุณภาพดีเยี่ยม แต่เป็นข้าวที่มีความต้านทานต่อโรคใบแห้งได้ปานกลาง และไม่สามารถต้านทานโรคใบไหม้
                   โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบไหม้สีเหลืองส้ม และโรคจู๋ได้ รวมทั้งไม่สามารถต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสี
                   เขียว เพลี้ยจักจั่นหลังขาว หนอนกอ และแมลงบั่วด้วย นอกจากนี้ยังไม่สามารถปลูกเป็นข้าวนาปรัง หรือปลูกหลังเก็บ

                   เกี่ยวข้าวนาปีได้ เนื่องจากมีลักษณะไวต่อช่วงแสง (photoperiod sensitive) คือออกดอกในวันที่กลางคืนยาวกว่า
                   กลางวันเท่านั้น คือในฤดูหนาว (สถาบันวิจัยข้าว, 2546)   มีลำต้นสูงประมาณ 140-150 เซนติเมตร ออกดอกประมาณ
                   วันที่ 20 ตุลาคม และสุกเก็บเกี่ยวได้ประมาณวันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปี เมล็ดมีระยะพักตัวประมาณ 8 สัปดาห์ ปลูก
                   ได้ดีบนที่ดอนทั่วไป  ทนแห้ง  ทนดินเปรี้ยวและดินเค็ม จากความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐและเอกชน  ทำให้ได้มีการ
                   ค้นคว้า  คัดเลือก และปรับปรุงพันธุ์ข้าว เพื่อการส่งออกจนได้มีการนำข้าวหอมมะลิไทยมาทดลองปลูกบริเวณภาค
                   ตะวันออกเฉียงเหนือ ในปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งผลิตที่มีคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย  โดยเฉพาะแหล่งผลิต
                   ข้าวหอมมะลิในเขตทุ่งกุลาร้องไห้

                   2. จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช

                          ในธรรมชาติส่วนต่างๆ ของพืชทั้งใบ ลำต้น และราก มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่จำนวนมากและหลากหลายสายพันธุ์ มี
                   ทั้งชนิดที่อาศัยรอบผนังเซลล์พืช ภายในเซลล์พืช หรือแม้กระทั้งภายในท่อน้ำท่ออาหารพืช โดยส่วนใหญ่จะอยู่อาศัยกัน
                   แบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยมีหลายสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้เป็นประโยชน์แก่พืชได้
                   เช่น Pseudomonas sp. Burkholderia sp. และ Azorhizobium sp. เป็นต้น (Jame et al., 2002) ซึ่งแบคทีเรีย
                   เหล่านี้จะมีประโยชน์อย่างมากในระบบการเกษตร โดยเฉพาะช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนให้แก่เกษตร ดังนั้นถ้า
                   สามารถแยกและคัดเลือกจุลินทรีย์กลุ่มดังกล่าวได้และนำมาประยุกต์ใช้ในการผลิตข้าวจะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่
                   เกษตร

                          แบคทีเรียเอนโดไฟท์ (endophytic bacteria) เป็นแบคทีเรียที่ใช้ชีวิตทั้งหมดหรือบางช่วงอยู่ในเนื้อเยื่อพืช แล้ว
                   ให้ประโยชน์แก่พืชอาศัยโดยไม่ทำอันตรายหรือก่อให้เกิดโรคแก่พืช เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อของพืชที่มี
                   ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพืช และได้รับประโยชน์ในแง่มีการแข่งขัน แย่งแหล่งคาร์บอนหรืออาหารน้อย และพืชอาศัยช่วย
                   ป้องกันสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมให้แก่แบคทีเรีย
                          แบคทีเรียเอนโดไฟท์ตรึงไนโตรเจน (Nitrogen Fixing Endophytic Bacteria) ปัจจุบันมีการศึกษาเอนโดไฟติก
                   แบคทีเรียในพืช โดยใช้วิธีทางชีววิทยาระดับโมเลกุล พบว่ามีความหลากหลายทางสปีชีส์ของเอนโดไฟติกแบคทีเรียในพืช
                   และยังพบว่าเอนโดไฟติกแบคทีเรียช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและผลผลิต ยับยั้งจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืช ละลาย
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12