Page 5 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย จังหวัดสุรินทร์ Study efficiency of bio-fertilizer to increase growth and rice (Khao Dawk Mali 105) yield inSandy Loam soil, Surin Province.
P. 5
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโต
และผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย จ.สุรินทร์ มีการวางแผนการทดลองแบบ Randomized
Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 8 ตำรับการทดลอง 3 ซ้ำ คือ ไม่ใส่ปุ๋ย(ควบคุม) ปุ๋ยเคมีตามค่า
วิเคราะห์ดิน ใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสาหรับนาข้าวรูปแบบน้ำ ใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสาหรับนาข้าวรูปแบบน้ำ+ปุ๋ยเคมี
50% ใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสาหรับนาข้าวรูปแบบน้ำ+ปุ๋ยเคมี 70% ใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสาหรับนาข้าวรูปแบบผง ใช้
ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสาหรับนาข้าวรูปแบบผง+ปุ๋ยเคมี 50% และใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวรูปแบบผง+
ปุ๋ยเคมี 70% จากการทดลองพบว่าการเจริญเติบโตของข้าวด้านการแตกกอ พบว่าการใส่ปุ๋ยชีวภาพมีผลต่อการแตกกอที่
มากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม) ด้านปริมาณจำนวนรวงต่อกอ พบว่า ในปีแรกของการทดลอง การใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่าง
เดียวมีผลต่อปริมาณจำนวนรวงมากที่สุด แต่ในการทดลองปีที่ 3 พบว่าการใส่ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบน้ำร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี
70 % และการใส่ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผงร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี 50 % มีปริมาณจำนวนรวงสูงกว่าการใส่ปุ๋ยเพียงอย่างเดียว
และการไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม) และผลผลิตของข้าว พบว่าในปีที่ 2 และ3 ของการทดลองการใส่ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผงร่วมกับ
การใส่ปุ๋ยเคมี 50 % จะส่งผลให้มีปริมาณผลผลิตร้อยละเมล็ดดีสูงที่สุด เท่ากับร้อยละ 93.40 และ 93.14 ตามลำดับ ส่วน
จำนวนเมล็ดต่อรวงจะเห็นได้อย่างชัดเจนในการทดลองปีที่ 3 พบว่าการใส่ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผงร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 % จะ
ส่งผลให้มีจำนวนเมล็ดต่อรวงมากที่สุด เท่ากับ 182.33 เมล็ดต่อรวง และปริมาณผลผลิตข้าว พบว่าการใส่ปุ๋ยชีวภาพ
รูปแบบผงร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 % ให้ปริมาณผลผลิตสูงที่สุด เท่ากับ 386.13 870.93 และ 814.40 กิโลกรัมต่อไร่
ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากปุ๋ยชีวภาพที่นำมาศึกษาในครั้งนี้ มีสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้รากข้าวแตกแขนง
มาก สามารถดูดธาตุอาหารได้มากขึ้นซึ่งส่งผลให้ผลผลิตของข้าวเพิ่มขึ้น และสามารถแนะนำให้เกษตรผู้ปลูกข้าว ใช้
ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 % ก็จะส่งเสริมให้ผลผลิตของข้าวเพิ่มมากขึ้น ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง ลดต้นทุน
การผลิต ช่วยปรับปรุงบำรุงดิน และสามารถพัฒนาการผลิตข้าวในระบบอินทรีย์ต่อไป
Abstract
The objective of this Study efficiency of bio-fertilizer to increase growth and rice (Khao Dawk
Mali 105) yield in Sandy Loam soil, Surin Province during the years 2018 to 2020. The experiment was
arranged in a randomized complete block design (RCBD) was used with three replications. The chemical
fertilizer, Control and different amounts of water bio-fertilizer for rice, water bio-fertilizer for rice + 50%
chemical fertilizer, water bio-fertilizer for rice + 70% chemical fertilizer, powder bio-fertilizer for rice,
powder bio-fertilizer for rice + 50% chemical fertilizer and powder bio-fertilizer for rice + 70% chemical
fertilizer. The results indicated that the application of water bio-fertilizer for rice + 70% chemical
fertilizer resulted in number of tillering when compared with the control in 2020. The results indicated
that the application of water bio-fertilizer for rice + 70% chemical fertilizer and powder bio-fertilizer for
rice + 50% chemical fertilizer resulted in number of ears/plants when compared with the chemical
fertilizer and control in 2020. The powder bio-fertilizer for rice + 50% chemical fertilizer resulted in
enhanced height of rice And grain yield by 386.13, 8 7 0 . 9 3 and 8 1 4 . 4 0 Kg/rai respectively during the
years 2018 to 2020, when compared with the control. This microbial product is a group of effective
microorganisms that can produce plant nutrient or convert insoluble of inorganic compounds into
soluble form to increase soil fertility produce plant growth hormone to enhance plant growth.