Page 12 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย จังหวัดสุรินทร์ Study efficiency of bio-fertilizer to increase growth and rice (Khao Dawk Mali 105) yield inSandy Loam soil, Surin Province.
P. 12
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
1. คุณสมบัติทางเคมีดินก่อนการทดลอง ในแปลงนาข้าวขาวดอกมะลิ 105
จากการวิเคราะห์ตัวอย่างดินก่อนการทดลองปรากฏว่า พื้นที่ทำการทดลองมีความเป็น กรด-ด่าง อยู่ที่ 5 (เป็น
กรดจัด) ค่าการนำไฟฟ้าเท่ากับ 0.02ds m-1 ด้านปริมาณอินทรียวัตถุพบว่ามีปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับต่ำมาก
เท่ากับ 0.14 เปอร์เซ็นต์ มีธาตุอาหารฟอสฟอรัสอยู่ในระดับต่ำมากเท่ากับ 4 mg kg-1 และมีปริมาณธาตุอาหารโพแต
สเซียมสูงที่สุด เท่ากับ 16 mg kg-1 รองลงมาได้แก่ ตำรับการทดลองที่ 4 มีปริมาณธาตุอาหารโพแตสเซียม อยู่ในระดับ
ต่ำมากเท่ากับ 5 mg kg-1
ตารางที่ 1 คุณสมบัติทางเคมีดินก่อนการทดลอง
รายการวิเคราะห์ดิน หน่วย ผลวิเคราะห์ ระดับ
1.ความเป็นกรด-ด่างในดิน 5.00 กรดจัด
2. ความต้องการปูน CaCO3 kg/rai 1248 ใช้โดโลไมท์ 1,360 กก./ไร่
3. ค่าความเค็มดิน ds/m 0.02 ไม่เค็ม
4. ปริมาณอินทรียวัตถุ % 0.14 ต่ำมาก
5.ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ mg/kg 4 ต่ำมาก
6.ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ mg/kg 5 ต่ำมาก
2. ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพต่อคุณสมบัติทางเคมีดิน ในแปลงนาข้าวขาวดอกมะลิ 105 ระหว่าง
ปี 2561- 2563
2.1 ความเป็นกรด-ด่างของดิน pH
จากตารางที่ 2 ผลการศึกษาความเป็นกรด-ด่างของดินหลังการทดลอง พบว่าในปี 2561 ทุกตำรับการทดลองมี
ความเป็นกรด-ด่างอยู่ระหว่าง 6.4-6.9 ซึ่งตำรับการทดลองที่ 6 และ ตำรับการทดลองที่ 7 มีค่าความเป็นกลาง เท่ากับ 6.9
ส่วนตำรับการทดลองที่ 5 มีค่าความเป็นกรดเล็กน้อย เท่ากับ 6.4 รองลงมาได้แก่ตำรับการทดลองที่ 1 ตำรับการทดลองที่
2 ตำรับการทดลองที่ 3 ตำรับการทดลองที่ 4 และตำรับการทดลองที่ 8 เท่ากับ 6.5 (เป็นกรดเล็กน้อย) ทุกตำรับการทดลอง
ตำรับการทดลองที่ 4 และ ตำรับการทดลองที่ 6 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95%
เท่ากับ 6.4 และ 6.9 ตามลำดับ
ในปี 2562 ก่อนการทดลอง พบว่าทุกตำรับการทดลองมีความเป็นกรด-ด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.6 ซึ่งตำรับการ
ทดลองที่ 7 มีค่าความเป็นกลาง เท่ากับ 6.6 ส่วนตำรับการทดลองที่ 5 มีค่าความเป็นกรดเล็กน้อย เท่ากับ 6.0 รองลงมา
ได้แก่ตำรับการทดลองที่ 1 ตำรับการทดลองที่ 2 ตำรับการทดลองที่ 3 ตำรับการทดลองที่ 4 ตำรับการทดลองที่ 6 และตำรับ
การทดลองที่ 8 เท่ากับ 6.2 6.2 6.2 6.1 6.4 และ6.1 (เป็นกรดเล็กน้อย) ตามลำดับ ตำรับการทดลองที่ 4 ตำรับการ
ทดลองที่ 5 และ ตำรับการทดลองที่ 7 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% เท่ากับ 6.1
6.0 และ 6.6 ตามลำดับ หลังการทดลอง พบว่าทุกตำรับการทดลองมีความเป็นกรด-ด่างอยู่ระหว่าง 6.2-7.3 ซึ่งตำรับการ
ทดลองที่ 6 มีค่าความเป็นกลาง เท่ากับ 7.3 รองลงมาได้แก่ ตำรับการทดลองที่ 4 ตำรับการทดลองที่ 7 และตำรับการ
ทดลองที่ 8 เท่ากับ 6.8 6.7 และ6.6 (เป็นกลาง) ตามลำดับ ส่วนตำรับการทดลองที่ 2 มีค่าความเป็นกรดเล็กน้อย เท่ากับ
6.2 รองลงมา ได้แก่ตำรับการทดลองที่ 1 ตำรับการทดลองที่ 3 และตำรับการทดลองที่ 5 เท่ากับ 6.5 6.4 และ6.3 (เป็นกรด
เล็กน้อย) ตามลำดับ ตำรับการทดลองที่ 2 และ ตำรับการทดลองที่ 6 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
ความเชื่อมั่นที่ 95% เท่ากับ 6.2 และ 7.3 ตามลำดับ