Page 2 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย จังหวัดสุรินทร์ Study efficiency of bio-fertilizer to increase growth and rice (Khao Dawk Mali 105) yield inSandy Loam soil, Surin Province.
P. 2
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
แบบ วจ.3
แบบรายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ทะเบียนวิจัยเลขที่ 61-63-17-09-20008-015-109-01-11
ชื่อแผนงานวิจัย/โครงการวิจัย การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและ
ผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย จ. สุรินทร์
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางสาวนิภาพร ไชยศรี
หน่วยงาน ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน สถานีพัฒนาที่ดินสุรินทร์ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3
ที่ปรึกษาโครงการ นางปิ่นเพชร ดีล้อม ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินสุรินทร์
ผู้ร่วมดำเนินการ 1. นายกฤษดา ศรีทับทิม นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ สถานีพัฒนาที่ดินสุรินทร์
2. นางอินทิรา เข็มม่วง นักวิชาการเกษตร สถานีพัฒนาที่ดินสุรินทร์
3. นางวารุนี เพิ่มทรัพย์ นักวิชาการเกษตร สถานีพัฒนาที่ดินสุรินทร์
เริ่มต้น เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2560 สิ้นสุดเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2563
รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 3 ปี 2 เดือน
สถานที่ดำเนินการ
แปลงวิจัยตั้งอยู่ที่บ้านฮ็อง หมู่ที่ 2 ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่พิกัดที่ E335815
N1668417 มีเนื้อที่ประมาณ 1.5 ไร่ จากการสำรวจดินพบว่าพื้นที่ในแปลงวิจัยเป็นชุดดินชำนิ (Cni-slA)
การจำแนกดิน Fine-loamy,mixed,isohyperthermic, Aquric Plinthic Paleaqualfs
การกำเนิด เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือตะกอนของหินทรายที่ถูกชะมาทับถมอยู่บริเวณ พื้นที่ที่
เหลือค้างจากการกัดกร่อน
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0-1%
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลวถึงดีปานกลาง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลางถึงช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลปนเทา มีจุดประสีน้ำตาลปนเหลือง ดิน
ล่างเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว สีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาปนชมพู และมีสีเทาอ่อนในดินล่างๆ มีจุดประสีน้ำตาลแก่หรือสี
น้ำตาลปนเหลือง และมีสีแดงปนเหลืองในดินชั้นล่าง มีศิลาแลงอ่อนปริมาณ 2-10 % โดยปริมาณภายในความลึก 50
เซนติเมตร ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกลางในดินชั้นบน (pH 5.0-7.0) และเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง (pH
6.5-7.0) ในดินล่าง
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและสมบัติทางกายภาพ โดยการใช้ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด