Page 6 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย จังหวัดสุรินทร์ Study efficiency of bio-fertilizer to increase growth and rice (Khao Dawk Mali 105) yield inSandy Loam soil, Surin Province.
P. 6
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
หลักการและเหตุผล
จังหวัดสุรินทร์ เป็นแหล่งผลิตข้าวคุณภาพดีมีพื้นที่มีปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ
(บุณดิษฐ์, 2550) เมื่อหุงสุกจะได้เมล็ดข้าวสุกที่อ่อนนุ่ม ยาวเรียว และมีกลิ่นหอม (สถาบันวิจัยข้าว, 2546) เป็น
เอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมทั้งสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ GI (Geographical indication) ของแหล่งเพาะปลูกที่มี
คุณลักษณะพิเศษแตกต่างจากข้าวที่ปลูกในพื้นที่อื่น ก่อให้เกิดคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัว (กรมทรัพย์สินทางปัญญา,
2553) ผลผลิตของข้าวนาปีในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์บริเวณนอกเขตชลประทานจำนวน 3.34 ล้านไร่คิดเป็น ร้อยละ 76
ของพื้นที่ทั้งหมด อยู่ในระดับต่ำ เพียง 350 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ในพื้นที่เขตชลประทานสามารถปลูกข้าวขาวดอกมะลิ ได้
ผลผลิตสูง มีพื้นที่น้อยกว่าร้อยละ 10
จึงจำเป็นต้องมีแหล่งน้ำเพื่อสนับสนุนการผลิต ผลผลิตข้าวต่อปีโดยรวมประมาณ 1 ล้านตันต่อปี สร้างรายได้
ให้กับเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์อย่างน้อยปีละ 1 หมื่นล้านบาท ประกอบกับดินที่ใช้ทำการเพาะปลูกในจังหวัดสุรินทร์
โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชปริมาณน้อย เป็นดินร่วนปน
ทราย มีความสามารถในการอุ้มน้ำน้อย อีกทั้งการกระจายของฝนและปริมาณน้ำฝนก็มีผลต่อการผลิตข้าว (สันต์ และบุรี,
2542) จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่จัดการ
นิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติหลีกเลี่ยงใช้สารเคมีสังเคราะห์ที่อาจก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงมีการนำภูมิ
ปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ในปัจจุบันความต้องการบริโภคข้าวอินทรีย์มีมากยิ่งขึ้น
เกษตรกรยังทำการปรับปรุงบำรุงดินด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
เพิ่มขึ้นในการทำการเกษตรเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตข้าว ทำให้เกษตรกรต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก
การใช้สารอินทรีย์และจุลินทรีย์จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อระบบเกษตร เพื่อทดแทนสารเคมีทางการเกษตรในการผลิต
ซึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าว โดยเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีสมบัติที่ดีต่อพืช จึงได้นำเทคโนโลยีทาง
จุลินทรีย์มาใช้ให้เป็นประโยชน์กับพืช ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์
ที่จะศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวไวแสงในดินร่วนปน
ทราย เพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางให้แก่เกษตรกร ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง ลดต้นทุนการผลิตข้าว ช่วยปรับปรุงบำรุงดิน และ
เกษตรกรสามารถต่อยอดเป็นการผลิตข้าวแบบอินทรีย์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโต ของข้าวขาวดอกมะลิ 105
ในดินร่วนปนทราย จังหวัดสุรินทร์
2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วน
ปนทราย จังหวัดสุรินทร์