Page 65 - การประเมินคุณภาพดินเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ ทางการเกษตรที่มีอัตราการชะล้างพังทลายสูงโดยใช้เทคนิคนิวเคลียร์ จังหวัดกาญจนบุรี Assessing soil quality and enhance crop productivity through agriculture management using nuclear techniques in the area of erosion in Kanchanaburi province.
P. 65

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       59


                          การวิจารณผลการทดลองดานปริมาณโพแทสเซียมในดิน (K) นั้น สามารถอธิบายไดวา พื้นที่ศึกษาทั้ง
                   สามแหลงมีแนวโนมปริมาณโพแทสเซียมโดยเฉลี่ยเมื่อเทียบกับชวงระยะเวลาการเก็บขอมูลมีความสอดคลองกัน
                   กลาวคือ ปริมาณ K โดยเฉลี่ย ณ ชวงเวลาการเก็บขอมูลครั้งที่ 1 (เดือนเมษายน) จะพบปริมาณธาตุดังกลาวสูง
                   ที่สุด หลังจากนั้น คาเฉลี่ย K จะลดลงต่ําที่สุด เมื่อเก็บขอมูลครั้งที่ 2 (เดือนมิถุนายน) และปริมาณ K จะเพิ่ม

                   ขึ้นมาอยูในระดับกึ่งกลางเมื่อเทียบกับการเก็บขอมูลทั้งสองครั้งกอนหนา ณ การเก็บขอมูลครั้งที่ 3 (เดือน
                   สิงหาคม) ดังภาพที่ 25 จากขอมูลขางตนสามารถอนุมานไดวา กลไกการเพิ่มขึ้นและลดลงของปริมาณ K ในดิน มี
                   ความใกลเคียงกันเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ศึกษาทั้งสามแหลง แมวาเมื่อมีการเปรียบเทียบเฉพาะพื้นที่ศึกษา
                   ทดลองในครั้งใน จะมีความแตกตางกันอยางมีนัยยะสําคัญทางสถิติ ซึ่งถาเรียงลําดับคาเฉลี่ย K ในดินตามพื้นที่
                   ศึกษาจากสูงไปต่ํา จะเรียงไดดังนี้ พื้นที่ปายางพารา  พื้นที่จัดระบบอนุรักษดินและน้ํา  และ พื้นที่เพาะปลูกทั่วไป
                   ตามลําดับ (ภาพที่ 26) ซึ่งเหตุผลของคําอธิบายดังกลาว อาจะเกิดขึ้น การใสปุยที่มีธาตุ K ลงไปในระยะเริ่ม
                   เพาะปลูกโดยเกษตรกร ในระยะเวลาที่ใกลเคียงกัน แตพื้นที่เพาะปลูกที่มีสิ่งปกคลุมหนาดินและการชะลอการพัด
                   พาธาตุอาหารจากบริเวณหนาดินไมใหออกไปจากพื้นที่เร็วเกินไป อาจสงผลใหมีปริมาณ K ที่คงอยูในดินมากกวา
                   พื้นที่เพาะปลูกทั่วไปที่ไมมีมาตรการรักษาความอุดมสมบูรณของดินใด ๆ เลย นอกจากนี้ อาจกลาวไดวา การไม

                   รบกวนหนาดิน และปลอยใหมีสิ่งปกคลุมหนาดินตลอดเวลา จะชวยรักษาปริมาณ K ในดิน ใหคงสภาพความเปน
                   ประโยชนตอพืชตอไปไดดีที่สุด
                          เมื่อสังเกตปริมาณ K ในพื้นที่ศึกษาตาง ๆ เปรียบเทียบกับระดับความลึกของดิน พบวา พื้นที่ศึกษาทั้ง
                   สามแหลง มีแนวโนมของปริมาณ K .ที่สอดคลองกัน กลาวคือ ปริมาณ K โดยเฉลี่ยจะพบมากที่ระดับความลึก 0-

                   10 เซนติเมตร และจะลดลงเมื่อระดับความลึกที่เพิ่มมากขึ้น (ภาพที่ 26) โดยเฉพาะในการเก็บขอมูลครั้งที่ 1
                   (เดือนเมษายน) และการเก็บขอมูลครั้งที่ 2 (เดือนมิถุนายน) อยางไรก็ตาม แนวโนมของปริมาณ K ตอระดับความ
                   ลึกของดินมีการเปลี่ยนแปลงไป เมื่อเก็บขอมูลครั้งที่ 3 (เดือนสิงหาคม) ซึ่งปรากฏวา ปริมาณ K ที่ระดับความลึก
                   10-20 เซนติเมตร มีคาสูงที่สุด ซึ่งอาจเกิดจากการชะลางจากหนาดินลงสูชั้นดินที่ลึกกวาโดยการถูกชะลางพัดพา
                   โดยน้ําในชวงฤดูฝน ในทุกพื้นที่ศึกษาวิจัย
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70