Page 40 - การประเมินคุณภาพดินเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ ทางการเกษตรที่มีอัตราการชะล้างพังทลายสูงโดยใช้เทคนิคนิวเคลียร์ จังหวัดกาญจนบุรี Assessing soil quality and enhance crop productivity through agriculture management using nuclear techniques in the area of erosion in Kanchanaburi province.
P. 40
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
34
คือ พื้นที่ปลูกพืชที่มีการจัดระบบอนุรักษ > พื้นที่ปลูกพืชทั่วไปที่ไมมีการจัดระบบอนุรักษดินและน้ํา > พื้นที่ปา
ยางพาราที่ไมมีการรบกวนหนาดิน ทั้งสามชวงเวลาของการเก็บขอมูล (ภาพที่ 18) สามารถอธิบายไดวา คา EC
ที่มากขึ้น เกิดจากการจัดการดินของเกษตร ไดแก การปลูกหญาแฝกขวางความลาดเท การปลูกพืชปุยสด การใส
ปุยเคมี และการใสปุยอินทรีย เปนตน ซึ่ง พื้นที่ปลูกพืชที่มีการจัดระบบอนุรักษ มีการปลูกพืชแบบหมุนเวียน
และการปลูกพืชแบบสลับที่หลากหลายมากกวา เชน มันสําปะหลัง ขาวโพด เผือก บุก สลับการแถบหญาแฝก
และปอเทือง ซึ่งจะแตกตางกับ พื้นที่ปลูกพืชทั่วไปที่ไมมีการจัดระบบอนุรักษดินและน้ํา ที่ปลูกขาวโพด
หมุนเวียนกับสัปปะรด โดยปลอยหนาดินใหโลงในชวงฤดูรอน และใสแตปุยเคมีเพียงอยางเดียว หรือพื้นที่ปา
ยางพาราที่ไมมีการรบกวนหนาดิน ที่ไมมีการจัดการดินใด ๆ
นอกจากนี้ คา EC ยังพบมากในชั้นดินบนหรือหนาดิน ซึ่งในชวงของการเก็บขอมูลระยะที่ 1 ในเดือน
เมษายน ซึ่งเปนฤดูรอนที่มีปริมาณฝนตกนอย และเปนชวงหลังการเก็บเกี่ยวของเกษตรกร จึงทําใหยังมีธาตุ
อาหารหลงเหลืออยูในดินมากที่สุด โดยที่คา EC จะลดลงตามระดับความลึกของดินที่เพิ่มขึ้น (ภาพที่ 15 ก และ
ภาพที่ 18 ข) อยางไรก็ตาม ในการเก็บขอมูลครั้งที่ 2 เดือนมิถุนายน ซึ่งเปนชวงฤดูฝนที่มีปริมาณฝนตกมาก คา
EC ของพื้นที่จัดระบบอนุรักษ ในระดับความลึก 10-20 เซนติเมตร มีมากกวาชั้นผิวหนาดิน ซึ่งหมายความวา อา
จะเกิดการชะลางหรือพัดพาธาตุอาหารหนาดินใหเคลื่อนที่ลงสูชั้นดินที่ลึกกวา (ภาพที่ 15 ข และภาพที่ 18 ข)
โดยเฉพาะอยางยิ่ง คา EC ของพื้นที่จัดระบบอนุรักษ ในการเก็บขอมูลครั้งที่ 3 เดือนสิงหาคม ซึ่งเปนเดือนที่มี
ปริมาณน้ําฝนมากที่สุดของปที่ดําเนินการวิจัย ที่คา EC ที่ระดับความลึก 10-20 เซนติเมตร มีปริมาณมากที่สุด
(ภาพที่ 15 ค และภาพที่ 18 ค) โดยพื้นที่ศึกษาอื่น ๆ ไมมีแนวโนมเชนนี้ จึงอาจตีความไดวา พื้นที่จัดระบบ
อนุรักษ ซึ่งมีแถบหญาแฝกขวางความลาดเท และมีการคลุมดินดวยพืช อาจชวยชะลอการชะลางธาตุอาหารพืช
ไมใหไหลออกจากพื้นที่เร็วเกินไป จึงทําใหธาตุอาหารหรือสารละลายตาง ๆ เกิดการชะลางในแนวลึกโดยลงสูชั้น
หนาตัดดินที่ลึกลงไป
ภาพที่ 16 แสดงวา พื้นที่ปลูกพืชทั่วไปที่ไมมีการจัดระบบอนุรักษดินและน้ํา และ พื้นที่ปายางพาราที่
ไมมีการรบกวนหนาดิน มีการลดลงของคา EC ตามชวงเวลาที่เก็บขอมูล ตั้งแตเดือนเมษายน ถึง เดือนสิงหาคม
โดยในพื้นที่จัดระบบอนุรักษ มีคา EC ที่ระดับความลึก 10-20 เซนติเมตร ในการเก็บขอมูลครั้งที่ 3 เดือน
สิงหาคม (ภาพที่ 16 ค) ใกลเคียงกับ คา EC ที่ระดับความลึก 0-10 เซนติเมตร ในการเก็บขอมูลทั้งสองครั้งกอน
หนานี้ แสดงถึง การที่ธาตุอาหารพืชถูกชะลางแบบซึมลึกลงไปในชั้นดินลางมากกวาการถูกชะลางแบบแนวขวาง
พื้นที่
ดวยเหตุนี้ เพื่อความเขาใจเรื่องความแตกตางของคา EC ในดิน จึงตองอธิบายปจจัยดานประเภทของ
ความลาดชันประกอบกันดวย จากภาพที่ 17 แสดงคาเฉลี่ยการนําไฟฟาของดิน (EC) เปรียบเทียบระหวาง
ประเภทของความลาดชันกับชวงระยะเวลาในการเก็บขอมูลทั้งสามเดือน ปรากฏวา พื้นที่ปลูกพืชทั่วไปที่ไมมีการ
จัดระบบอนุรักษดินและน้ํา มีคา EC สูงที่สุด ณ บริเวณ Summit ในเดือนเมษายน จากนั้น ในเดือนมิถุนายน คา
EC ณ บริเวณ Shoulder จึงเริ่มเพิ่มขึ้น และพบคา EC ในเดือนสิงหาคม ณ บริเวณ Toeslope และ Footslope
ตามลําดับ (ภาพที่ 17 ก) จึงแสดงใหเห็นวา สารละลายหรือธาตุอาหารพืชในดินของพื้นที่ปลูกพืชทั่วไปนี้ มีการ
เคลื่อนยายหรือถูกชะลางจากที่สูงลงมาสูที่ต่ํากวา ตามชวงเวลาและปริมาณน้ําฝน ในขณะที่ พื้นที่ปายางพาราที่
ไมมีการรบกวนหนาดิน มีคา EC ที่คอนขางคงที่ในชวงระยะเวลาเก็บขอมูลเดือนเมษายนและมิถุนายน แตคา EC
ไดเพิ่มมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น ณ บริเวณ Toeslope ในเดือนสิงหาคม แสดงใหเห็นวาพื้นที่ดังกลาว มีความคงทนตอ
การชะลางหรือพัดพาธาตุอาหารในดินสูงกวาพื้นที่ทั่วไป และพบการสะสมของปริมาณธาตุอาหารในพื้นที่ต่ํา
ที่สุด ในเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด (ภาพที่ 17 ข) พื้นที่ปลูกพืชที่มีการจัดระบบอนุรักษ มีคา EC คอนขางคงที่ และ
กระจายตัวตามระดับความชันมากที่สุด โดยพบปริมาณคา EC ณ บริเวณ Backslope ซึ่งเปนชวงกึ่งกลางของ
พื้นที่ ในเดือนเมษายน ถึงมิถุนายน และถึงแมในเดือนสิงหาคม ซึ่งเปนชวงที่ในตกชุกที่สุด คา EC ก็ยังคงมี
คาสูงสุด ณ บริเวณ Footslope (ภาพที่ 17 ค) ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการขัดขวางการชะลางพังทลายของ
ดินในแนวราบไดดีโดยการใชมาตรการอนุรักษดินและน้ําที่เหมาะสม