Page 13 - การประเมินคุณภาพดินเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ ทางการเกษตรที่มีอัตราการชะล้างพังทลายสูงโดยใช้เทคนิคนิวเคลียร์ จังหวัดกาญจนบุรี Assessing soil quality and enhance crop productivity through agriculture management using nuclear techniques in the area of erosion in Kanchanaburi province.
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                         7


                          สภาพทรัพยากรดินในพื้นที่โครงการวิจัย สามารถแบงออกไดเปนลักษณะชุดดิน สภาพดินปญหา
                   ศักยภาพของดินในการเพาะปลูกพืช และการใชประโยชนที่ดินในปจจุบัน
                          ชุดดินที่พบในพื้นที่โครงการศึกษาวิจัยนี้ ประกอบดวย
                          1) ชุดดินมวกเหล็ก (Muak Lek Series: Ml) จัดอยูในกลุมชุดดินที่ 47 พบไดในสภาพพื้นที่ที่เปนลูกคลื่น

                   ลอนลาด เชิงเขา ลานตะพักน้ํา ไปจนถึงเนินเขา มักพบไดในระดับความลาดชันตั้งแตรอยละ 2 ถึง 35 วัตถุตน
                   กําเนิดดินของชุดดินมวกเหล็ก เกิดจากการผุพังสลายตัวอยูกับที่ และ/หรือ การเคลื่อนยายตะกอนดินเนื้อ
                   ละเอียดและหินมาเปนระยะทางไมไกลนัก ในดานสมบัติทางกายภาพของชุดดินมวกเหล็กนั้น มีการระบายน้ําดี
                   การซึมผานไดของน้ําอยูในระดับปานกลาง การไหลบาของน้ําบนผิวดินอยูในระดับปานกลางถึงเร็ว ชุดดิน
                   มวกเหล็กจัดอยูในลักษณะของดินตื้น เนื่องจากพบชั้นเศษหินหนาแนน หินตนกําเนิด และ/หรือ หินที่กําลัง
                   สลายตัว ที่ความลึกไมเกิน 50 เซนติเมตร จากผิวดิน โดยบางบริเวณอาจพบเศษหินลอยอยูบนหนาดินได ซึ่งเนื้อ
                   ดินชั้นลาง จะมีสีน้ําตาลปนเหลือง น้ําตาล หรือน้ําตาลเขม เนื้อดินเปนดินรวนปนดินเหนียว หรือดินรวนเหนียว
                   ปนทรายแปง หรือดินเหนียว ที่มีเศษหินหรือกรวดปะปนมาก ในขณะที่เนื้อดินบน เปนดินรวนหรือดินรวนปน
                   ทรายแปง สีน้ําตาลปนเทาหรือน้ําตาลเขม สมบัติทางเคมีของชุดดินมวกเหล็ก ประกอบดวย คาความเปนกรด

                   เปนดางของชั้นดินบน มีคาระหวาง 5.5 ถึง 7.0 ในขณะที่คาความเปนกรดเปนดางของชั้นดินลาง มีคาระหวาง
                   5.5 ถึง 6.5 ปริมาณอินทรียวัตถุ ระดับคาความจุการแลกเปลี่ยนไอออน และความอิ่มตัวของเบสอยูในระดับปาน
                   กลาง นอกจากนี้ ปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เปนประโยชนจัดอยูในระดับปานกลางไปจนถึงต่ํา ดวย
                   เหตุนี้ ชุดดินมวกเหล็ก จึงถูกจัดใหเปนดินที่มีความอุดมสมบูรณอยูในระดับปานกลางไปจนถึงต่ํา และไมควร
                   นํามาใชประโยชนในการเพาะปลูก ควรปลอยและรักษาใหคงไวเปนปาตามธรรมชาติ เพื่อเปนแหลงตนน้ําลําธาร
                          2) ชุดดินวังสะพุง (Wang Saphung series: Ws) จัดอยูในกลุมชุดดินที่ 55 พบไดในสภาพพื้นที่ที่เปนลูก
                   คลื่นลอนลาดเล็กนอยถึงเปนลูกคลื่นลอนลาด เชิงเขา ลานตะพักน้ํา ไปจนถึงเนินเขา มักพบไดในระดับความลาด

                   ชันตั้งแตรอยละ 2 ถึง 12 วัตถุตนกําเนิดดินของชุดดินวังสะพุง เกิดจากเกิดจากการผุพังสลายตัวอยูกับที่ และ/
                   หรือ การเคลื่อนยายตะกอนดินเนื้อละเอียดและหินมาเปนระยะทางไมไกลนัก เชน หินดินดาน หินทรายแปง หิน
                   โคลน หินชนวน หินฟลไลท เปนตน ในดานสมบัติทางกายภาพของชุดดินวังสะพุงนั้น มีการระบายน้ําดี การซึม
                   ผานไดของน้ําอยูในระดับปานกลาง การไหลบาของน้ําบนผิวดินอยูในระดับปานกลางถึงเร็ว ชุดดินวังสะพุงจัดอยู
                   ในลักษณะของดินลึกปานกลาง สวนใหญพบชั้นหินพื้นภายใน 100 เซนติเมตร จากผิวดิน แตเนื่องจากมักพบชุด
                   ดินนี้ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและที่สูงตอนกลางของประเทศ อาจทําใหรากของพืชที่มีระบบรากลึกอาจถูก
                   จํากัดการเจริญเติบโต เพราะสภาพพื้นที่มีความลาดชันสูง จึงสงผลใหดินเกิดการชะลางพังทลายไดงาย เนื้อดินชั้น
                   บนเปนดินรวน ดินรวนปนดินเหนียวหรือ ดินรวนเหนียวปนทรายแปง สีน้ําตาลเขมถึงสีน้ําตาลปนเทาเขม
                   ในขณะที่เนื้อดินชั้นลาง เปนดินเหนียว สีแดงปนเหลืองถึงสีแดง หรือ ดินเหนียวสีน้ําตาลปนแดงหรือสีน้ําตาลปน
                   เหลือง มีเศษหินปะปนหนาแนน ที่อาจพบจุดประสีน้ําตาลปนเหลือง สีแดง และสีน้ําตาลเปนตน สมบัติทางเคมี

                   ของชุดดินวังสะพุง ประกอบดวย คาความเปนกรดเปนดางของชั้นดินบน มีคาระหวาง 6.0 ถึง 7.0 ในขณะที่คา
                   ความเปนกรดเปนดางของชั้นดินลาง มีคาระหวาง 4.5 ถึง 6.5 ปริมาณอินทรียวัตถุ ระดับคาความจุการ
                   แลกเปลี่ยนไอออน และความอิ่มตัวของเบสอยูในระดับปานกลางไปจนถึงต่ํา นอกจากนี้ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เปน
                   ประโยชนอยูในระดับปานกลางไปจนถึงต่ํา แตมีปริมาณโพแทสเซียมเปนประโยชนอยูในระดับสูง ดวยเหตุนี้ ชุด
                   ดินวังสะพุง จึงถูกจัดใหเปนดินที่เหมาะสมตอการเพาะปลูกพืชไร เชน ขาวโพด ขาวไร ถั่วตาง ๆ และสวนผลไม
                   เชน มะมวง มะขาม ลําไย แตจําเปนตองปรับปรุงบํารุงดินและใชปุยอินทรียหรือปุยชีวภาพ รวมกับปุยเคมีเพื่อ
                   เพิ่มผลผลิตใหสูงขึ้น รวมกับการจัดระบบการปลูกพืชและระบบอนุรักษดินและน้ําใหเหมาะสมกับสภาพความลาด

                   ชันของพื้นที่ หรืออาจปลอยใหสภาพพื้นที่อยูในสภาพปา พืชพรรณธรรมชาติ ปาเบญจพรรณ หรือทุงหญาเลี้ยง
                   สัตว เปนตน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18