Page 23 - ต้นแบบอนุรักษ์ดินและน้ำจังหวัดเชียงใหม่ Soil and Water Conservation Model in Chiang Mai Province.
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           15

                          3.3 ประเมินการสูญเสียดินจากสมการทางคณิตศาสตร์ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2556ก)

                          การประเมินการสูญเสียดินด้วยสมการการสูญเสียดินฟิตตัวแบบทางคณิตศาสตร์ซึ่งกรมพัฒนา
                   ที่ดินได้ทำการศึกษาพบความสัมพันธ์การสูญเสียดินของประเทศไทยโดยนำข้อมูลที่ได้จากความสัมพันธ์

                   ของปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสะสมรายปีจากสถานีตรวจวัดปริมาณน้ำฝนจากทั้ง 4 สถานีตรวจวัด และขนาด

                   ของพื้นที่ที่ศึกษามาประเมินการสูญเสียดินจากสมการที่กำหนดไว้ดังนี้


                                                   Y = (64x 2.134 )/320696887A


                                         โดย   Y   =   ปริมาณการสูญเสียดิน (ตันต่อปี)
                                                         x   =  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสะสมรายปี (มิลลิเมตร)

                                                         A   =   ขนาดของพื้นที่ที่ต้องการศึกษา (ไร่)


                          3.4 ปริมาณการสูญเสียดินประเมินจากแบบจำลอง Morgan, Morgan and Finney

                   (MMF) model (Morgan et al., 1984)
                          วิธีการใช้แบบจำลอง MMF เพื่อประเมินการชะล้างพังทลายของดิน ซึ่งใช้ระบบสารสนเทศ

                   ภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือ ต้องทราบถึงรายละเอียดของปัจจัยที่นำมาใช้ในการศึกษา ทั้งด้านสภาพ

                   ภูมิอากาศ และดินดังนี้
                        1) ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาได้แก่

                          - ข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายปี (Annual rainfall: R)

                          - ข้อมูลจำนวนวันฝนตกในรอบปี (Rainy day: Rn)
                          - ข้อมูลความหนักเบาของฝนสูงสุดในหนึ่งชั่วโมง (Rainfall intensity: I)

                        2) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับดินประกอบไปด้วย

                          - ข้อมูลความจุความชื้นของดินที่ระดับสนาม (Moisture content at field capacity: MS)
                          - ข้อมูลความหนาแน่นรวมของดิน (Bulk density: BD)

                          - ข้อมูลดัชนีความคงทนของดินต่อการถูกกัดชะด้วยน้ำฝน (Soil detachability index: K)
                        3) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินประกอบด้วย

                          - ข้อมูลค่าการปกคลุมของพืชพันธุ์ (Crop cover factor: C)

                          - ข้อมูลร้อยละของน้ำฝนที่พืชยึดไว้ (Crop interception percent factor: A)
                          - ข้อมูลอัตราส่วนระหว่างการคายระเหยจริงกับการระเหยน้ำสูงสุด (Ratio of actual to

                          potential evapotranspiration: Et/E0)
                          - ข้อมูลความลึกของน้ำในดินที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ (Rooting depth: RD)

                        4) ข้อมูลระดับความสูงของภูมิประเทศ

                          - ข้อมูลที่นำมาใช้ในการหาระดับความสูงของภูมิประเทศ คือข้อมูลเส้นความสูงเท่า (Contour
                          line) ที่มีระยะห่างกันชั้นละ 100 เมตร (ยุทธชัย และคณะ, 2547)
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28