Page 9 - ต้นแบบอนุรักษ์ดินและน้ำจังหวัดเชียงใหม่ Soil and Water Conservation Model in Chiang Mai Province.
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            1



                                                       หลักการและเหตุผล


                          ในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60

                   พรรษา ในปี 2558 กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จ
                   พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชนบทต่อเนื่องนาน

                   กว่า 30 ปี และเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสทรง
                   เจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา จึงได้เสนอแนวคิดในการจัดทำโครงการ “เมืองต้นแบบอนุรักษ์ดินและน้ำ

                   กรมพัฒนาที่ดิน” เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่ยั่งยืนและช่วยเพิ่มผลผลิต
                   ทางการเกษตรในชุมชน เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มหมอดิน ยุวเกษตรกรในโรงเรียน กลุ่มแม่บ้าน

                   เกษตรกร และกลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ แล้วขยายผลการน้อมนำแนวพระราชดำริ และการดำเนินโครงการจาก

                   หมอดิน ตลอดจนขยายผลไปยังหมู่บ้านที่ตั้งโรงเรียนในพื้นที่สูงที่ได้รับผลกระทบจากการชะล้างพังทลายของ
                   ดิน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง

                   เสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยน้อมนำหลัก

                   ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ควบคู่ไปกับเมืองเกษตรสีเขียว อันได้แก่
                   เชียงใหม่ ราชบุรี พัทลุง หนองคาย ศรีสะเกษ และจันทบุรี ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                          โครงการฯ นี้นอกจากจะเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาส

                   ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษาปี 2558 แล้ว ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรโดยอาศัย
                   งานวิจัยต้นแบบ Paired watershed เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังช่วยปลูกฝังการ

                   อนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่สูงให้กับโรงเรียนให้ตระหนักถึงประโยชน์การอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นการเพิ่มผลผลิต
                   อย่างพอเพียงจนสามารถนำผลผลิตทางการเกษตรที่เหลือนำมาขายให้เกิดรายได้ที่ยั่งยืนอย่างสม่ำเสมอ และ

                   ยังขยายผลด้านการผลิตทางการเกษตรสู่ครอบครัวของนักเรียนและชุมชน รวมถึงปลูกฝังให้เด็กนักเรียนมี

                   ทัศนคติที่ดีต่ออาชีพการเกษตร การอนุรักษ์ดินและน้ำ มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการ
                   ดำเนินชีวิต ด้วยการใช้กระบวนการกลุ่มหมอดิน ยุวเกษตรกรในโรงเรียนเป็นแนวทางในการดำเนินงาน

                   มีเป้าหมายการดำเนินงานในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและโรงเรียนใกล้เคียงในพื้นที่สูง ให้มีการ
                   แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากหมอดินสู่โรงเรียน จำนวน 5 โรงเรียน และชุมชนที่ตั้งโรงเรียน จำนวน 5 ชุมชนในพื้นที่

                   จังหวัดเชียงใหม่ โดยเริ่มดำเนินงานในปี 2559 และสิ้นสุดโครงการฯในปี2563

                          เมื่อโครงการฯ เสร็จสิ้นแล้วหมอดิน เกษตรกรในท้องถิ่น เกิดการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร ลดการ
                   พึ่งพาปัจจัยภายนอกนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง เสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง

                   และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะ

                   สามารถเพิ่มผลผลิตให้พอเพียงตลอดปีการศึกษาตามมาตรฐานการประเมิน และแก้ปัญหาการขาดโภชนาการ
                   ของเด็กนักเรียนในโรงเรียนได้อย่างยั่งยืน ชุมชนเป้าหมายมีการพัฒนาด้านการผลิตทางการเกษตร มีแหล่ง

                   อาหารในชุมชนและเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกในชุมชน ตลอดจนครู นักเรียน และชุมชน มีความรู้และ
                   อุดมการณ์ด้านการเกษตร การประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14