Page 4 - อิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning on Maize Production Systems and Soil Carbon on Upland in Chiang Mai Province.
P. 4

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   ทะเบียนวิจัยเลขที่  61-63-18-18-020104-009-108-04-13

                   ชื่อโครงการวิจัย  อิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่
                                 Effects of Burning on Maize Production Systems and Soil Carbon on Upland

                                 in Chiang Mai Province

                   กลุ่มชุดดินที่  60  ชุดดิน ดินตะกอนลำน้ำเชิงซ้อนที่มีการระบายน้ำดี (AC-wd: Alluvial Complex, well drained)
                   สถานที่ดำเนินการ      ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
                   ผู้ร่วมดำเนินการ

                                 นางสาวสมจินต์         วานิชเสถียร           Somjin        Wanichsathian
                                 นายพงศ์ธร             เพียรพิทักษ์          Phongthorn   Phianphitak

                                 นายณรงค์เดช           ฮองกูล                Narongdech    Hongkul
                                 นายธนัญชย์            ดำขำ                  Thanun        Dumkhum

                                                            บทคัดย่อ

                          การศึกษาอิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ มี
                   วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด สมบัติดินบางประการและคาร์บอนในดิน
                   รวมทั้งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่เกษตรกร ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัด
                   เชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 8 ตำรับการทดลอง
                   ดังนี้ T1 แปลงควบคุม ไม่เผาตอซังและไม่ไถพรวน T2 เผาตอซัง ไถพรวนและใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร T3 ไม่เผา
                   ตอซัง ไม่ไถพรวน และใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร T4 ไม่เผาตอซัง ไถพรวนและใส่ปุ๋ยเคมีแบบเกษตรกร T5 ไม่เผาตอ
                   ซัง ไถพรวน และใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจากโปรแกรม TSFM ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 2 ตันต่อไร่ T6 ไม่เผาตอซัง-ไถพรวน

                   และใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจากโปรแกรม TSFM ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 4 ตันต่อไร่ T7 ไม่เผาตอซัง-ไถพรวน และใส่ปุ๋ย
                   ตามคำแนะนำจากโปรแกรม TSFM ร่วมกับปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และ T8 ไม่เผาตอซัง-ไถพรวนและใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ
                   จากโปรแกรม TSFM  ผลการศึกษาด้านสมบัติดิน พบว่า T5 มีแนวโน้มทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ดินมีความเป็น
                   กรดด่าง 6.87 อยู่ในระดับที่เป็นกลาง ปริมาณอินทรียวัตถุ และปริมาณคาร์บอนในดิน มีค่าเฉลี่ย 2.44 และ 2.32
                   เปอร์เซ็นต์ ส่วนปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมในดิน มีค่าเฉลี่ย 91.33 และ 434 มิลลิกรัมต่อ
                   กิโลกรัม ตามลำดับ มีค่าเฉลี่ยลดลงจากก่อนดำเนินการ เนื่องจากเป็นธาตุอาหารหลักที่พืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโต
                   และสะสมอาหารในเมล็ด ส่วนปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมเฉลี่ย 1,977.67 และ 209.33 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                   ตามลำดับ ด้านการเจริญเติบโตของข้าวโพดในฤดูปลูกที่ 1 พบว่า ต้นข้าวโพดในตำรับ T6 เจริญเติบโตดีที่สุด เมื่อ

                   อายุ 60 วันหลังปลูก มีความสูงเฉลี่ย 276.87 เซนติเมตร ให้ผลผลิตสูงที่สุด 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งแตกต่างจาก
                   ตำรับอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และให้ผลตอบแทนสูงที่สุด 9,567.90 บาทต่อไร่ ในฤดูปลูกที่ 2 พบว่า
                   ตำรับ T5 ให้ผลผลิตสูงที่สุด มีค่าเฉลี่ย 1,414.45 กิโลกรัมต่อไร่ และผลตอบแทนสูงที่สุด 7,836.16 บาทต่อไร่ ทั้งนี้
                   ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) ดังนั้น การจัดการดินโดยการไถพรวนและการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
                   ตามตำรับ T6 จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดได้ นอกจากนี้การศึกษาธาตุอาหารในต้นข้าวโพด ส่วน
                   เหนือดินมีปริมาณอินทรีย์คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เฉลี่ย 34.52 0.97 0.05 1.67 เปอร์เซ็นต์
                   ส่วนของราก มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เฉลี่ย 18.46 0.61 0.04 และ 0.90
                   เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนปริมาณมวลชีวภาพข้าวโพด พบว่า มีค่าเฉลี่ย 517.33-954.67 ตันต่อไร่ ผลการศึกษา
                   แสดงให้เห็นว่า หากเกษตรกรมีการจัดการเศษซากพืชก่อนปลูกด้วยการไถกลบลงดิน โดยไม่เผาตอซังจะช่วยเพิ่มธาตุ

                   อาหารและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินได้ในระยะยาว
   1   2   3   4   5   6   7   8   9