Page 130 - ศึกษาผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุทางเกษตรต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มและศึกษาการชะล้างพังทลายของดินด้วยแบบจำลองการสูญเสียดินสากล
P. 130

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          110

                                                     สรุปผลและข้อเสนอแนะ

                   1. การศึกษาการท้านายผลผลิตข้าวและข้าวโพดในปี พ.ศ. 2573 และ 2603 สรุปผลการศึกษาได้ดังนี
                          1.1 ข้าวในปีฐาน (พ.ศ. 2561 - 2563) มีผลผลิตเฉลี่ย 623 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อท านายผลผลิตในปี พ.ศ.

                   2573 และ 2603 จากการใช้แบบจ าลอง RCP6.0 พบว่า ได้ผลผลิตเฉลี่ย 635 และ 682 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมี
                   แนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีฐาน ร้อยละ 1.85 และ 9.47 ตามล าดับ ในขณะที่การใช้แบบจ าลอง RCP8.5 พบว่า ได้
                   ผลผลิตเฉลี่ย 601 และ 717 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมีแนวโน้มลดลงจากปีฐาน ร้อยละ 3.54 ในปี พ.ศ. 2573 และ

                   เพิ่มขึ้นจากปีฐาน ร้อยละ 15.00 ในปี พ.ศ. 2603 ตามล าดับ
                          1.2 ข้าวโพดในปีฐาน (พ.ศ. 2561 - 2563) มีผลผลิตเฉลี่ย 872 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อท านายผลผลิตใน
                   ปี พ.ศ. 2573 และ 2603 จากการใช้แบบจ าลอง RCP6.0 พบว่า ได้ผลผลิตเฉลี่ย 879 และ 896 กิโลกรัมต่อ
                   ไร่ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีฐาน ร้อยละ 0.87 และ 2.76 ตามล าดับ ในขณะที่การใช้แบบจ าลอง RCP8.5

                   พบว่า ได้ผลผลิตเฉลี่ย 883 และ 900 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีฐาน ร้อยละ 1.27 และ 3.24
                   ตามล าดับ
                          จากการใช้แบบจ าลอง RCP6.0 เป็นสถานการณ์ที่ใช้มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกปานกลาง พบว่าใน
                   ปี พ.ศ. 2573 และ 2603 มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 429 และ 511 ppm ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีฐาน

                   410 ppm คิดเป็น ร้อยละ 4.63 และ 24.63 ตามล าดับ และการใช้แบบจ าลอง RCP8.5 เป็นสถานการณ์ที่มี
                   การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูงที่เกิดจากการเติบโตของประชากรและยังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล
                   พบว่าในปี พ.ศ. 2573 และ 2603 มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 449 และ 604 ppm ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
                   จากปีฐาน 410 ppm คิดเป็น ร้อยละ 9.51 และ 47.32 ตามล าดับ อาจสรุปได้ว่าปริมาณผลผลิตข้าวและ

                   ข้าวโพดในอนาคตมีความสอดคล้องกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน อาจ
                   เนื่องมาจากพืชใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์แสง ผลผลิตที่ได้จากการท านายจึงมี
                   แนวโน้มเพิ่มขึ้นตามปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตามผลที่ได้จากการวิเคราะห์ยัง

                   ไม่ได้พิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตได้โดยตรง เช่น ภัยพิบัติ
                   ทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                   2. การศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความชื นในดินและการเจริญเติบโตของ
                      ข้าวโพด สรุปผลการศึกษาได้ดังนี
                          2.1 ผลการศึกษาปริมาณความชื้นในดินและความถี่ของการให้น้ า พบว่าปริมาณผลผลิตมีความ

                   แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติในปีที่ 2 โดยวิธีการที่ให้น้ าทุกวัน วิธีการที่ให้น้ าทุก 2 วัน และวิธีการที่ให้
                   น้ าทุก 4 วัน มีปริมาณผลผลิตสูงสุด และเมื่อพิจารณาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจะเห็นว่าวิธีการไม่คลุมดิน
                   และวิธีการที่ให้น้ าทุก 4 วัน มีต้นทุนต่ ากว่าวิธีการอื่น จึงให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงกว่า ดังนั้นวิธีการไม่

                   คลุมดินและวิธีการที่ให้น้ าทุก 4 วัน จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                   และให้ผลผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง
                          2.2 ผลการศึกษาวัสดุคลุมดินด้วยฟางข้าวและใส่ปุ๋ยคอก พบว่าผลการวิเคราะห์ความชื้นในดินของ
                   วิธีการคลุมดินและวิธีการไม่คลุมดินให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่จะเห็นว่าวิธีการคลุมดินมีความชื้นสูงกว่า

                   วิธีการไม่คลุมดิน ดังนั้นหากเกษตรกรสามารถหาวัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าวหรือเศษวัสดุต้นข้าวโพดจากพื้นที่
                   เพาะปลูกของตนเองโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนการผลิต วิธีการคลุมดินจะเป็นวิธีที่ช่วยรักษาความชื้นใน
                   ดินและช่วยยืดระยะเวลาการให้น้ าต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ในพื้นที่ที่มีฝนตกน้อยหรือฝนทิ้งช่วง
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135