Page 131 - ศึกษาผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุทางเกษตรต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มและศึกษาการชะล้างพังทลายของดินด้วยแบบจำลองการสูญเสียดินสากล
P. 131

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          111

                   3. การศึกษาอิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดิน สรุปผลการศึกษาได้ดังนี

                          การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดในฤดูปลูกที่ 1 พบว่า ต ารับที่ 6 ไม่เผาตอซัง+ไถพรวน+ปุ๋ย
                   TSFM+ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 4 ตันต่อไร่ มีความสูงต้นอายุ 60 วันหลังปลูก เฉลี่ยสูงที่สุด 276.87 เซนติเมตร และ
                   ให้ผลผลิต 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลตอบแทนสูงสุด 8,837.88 บาทต่อไร่ ในฤดูปลูกที่ 2 พบว่า ต ารับที่ 5
                   ไม่เผาตอซัง+ไถพรวน+ปลูกข้าวโพด+ปุ๋ยTSFM+ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 2 ตันต่อไร่ ให้ผลผลิต 1,414.45 กิโลกรัม

                   ต่อไร่ และผลตอบแทนสูงที่สุด 7,836.16 บาทต่อไร่
                          การเผาเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาหมอกควันในจังหวัดเชียงใหม่ที่เกิดขึ้นทุกปี หลายภาคส่วนได้
                   ร่วมกันรณรงค์อย่างต่อเนื่อง เกษตรกรส่วนหนึ่งเริ่มตระหนักถึงผลเสียจากการเผาและพยายามหลีกเลี่ยงมาก
                   ขึ้น แต่ต้องยอมรับว่า การเผาเป็นวิถีชีวิต และวิธีปฏิบัติที่ด าเนินมาอย่างยาวนาน บางส่วนยังไม่สามารถ

                   ปรับเปลี่ยนทัศนคติได้ หน่วยงานภาครัฐพยายามจัดหาวัสดุเครื่องมืออุปกรณ์ เพื่อช่วยย่อยวัสดุเศษเหลือทาง
                   การเกษตรดังกล่าว เช่น เครื่องบดย่อยเศษวัสดุ เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยหมักเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดินได้อีกทางหนึ่ง
                   จากการศึกษาเรื่องอิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัด
                   เชียงใหม่ เมื่อพิจารณาด้านการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดแล้ว พบว่าการเผาไม่ได้ช่วยท าให้ผลผลิต

                   เพิ่มขึ้น แต่จะเป็นการสร้างมลพิษทางอากาศ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในพื้นที่ แต่หากมีการจัดการ
                   ดินและธาตุอาหารโดยไม่เผา จะสามารถท าให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น
                   4. การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื นที่เกษตรกรรม ต่อ
                      ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดิน ในพื นที่ปลูกข้าวโพด สรุปผลการศึกษาได้

                      ดังนี
                          4.1 ความอุดมสมบูรณ์ของดินบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุ พื้นที่ส่วนใหญ่
                   อยู่ในเกณฑ์การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินระดับสูง เฉลี่ยเท่ากับ 1,521,274 ไร่ต่อปี คิดเป็นร้อยละ
                   61.98

                          4.2 การชะล้างพังทลายของดินบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม มีปริมาณการสูญเสียดินเฉลี่ย 10,959,467
                   ตันต่อปี ส าหรับพื้นที่ปลูกข้าวโพดเฉลี่ย 613,716 ตันต่อปี โดยปี 2561 มีปริมาณการสูญเสียดินมากกว่าปี
                   2562 และในปี 2563 มีปริมาณมากที่สุด และพบว่าการชะล้างพังทลายแปรผันตามกันกับปริมาณน้ าฝน

                   สะสม หากพิจารณาจากพื้นที่ที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน พบว่าปี 2563 เกิดพื้นที่ที่มีปัญหามาก
                   ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.47 ของพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม และร้อยละ 70.44 ของพื้นที่ปลูกข้าวโพด
                          4.3 การเปลี่ยนแปลงของระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินบริเวณลุ่มน้ าแม่แจ่ม จากปัจจัยด้านปริมาณน้ าฝน
                   และการชะล้างพังทลายของดิน
                          พื้นที่บริเวณลุ่มน้ าแม่แจ่ม ปี 2561/2562 พบว่า ขนาดของพื้นที่ของปริมาณอินทรียวัตถุที่ระดับต่ าและ

                   ปานกลางมีการลดลง 1,671 และ 250,969 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.07 และ 10.23 ตามล าดับ ที่ระดับสูงและสูงมาก
                   มีการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ 7,517 และ 245,123 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.31 และ 9.99 ตามล าดับ
                          4.4 การเปลี่ยนแปลงของระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด จากปัจจัยด้าน

                   ปริมาณน้ าฝน และการชะล้างพังทลายของดิน
                          พื้นที่ปลูกข้าวโพด ปี 2561/2562 พบว่าขนาดของพื้นที่ของปริมาณอินทรียวัตถุที่ระดับต่ าและปาน
                   กลางมีการลดลง 649 และ 30,350 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.56 และ 26.13 ตามล าดับ ในขณะที่ระดับสูงและสูงมาก
                   มีการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ 17,962 และ 13,038 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 15.47 และ 11.23 ตามล าดับ

                          4.5 เกิดจุดความร้อน (Hot Spot) เฉลี่ย 21 จุดต่อปี หรือ 13 จุด 19 จุด และ 30 จุด ตามล าดับ
                   ส่งผลให้เกิดพื้นที่ที่ถูกเผาไหม้เฉลี่ย 12,917 ไร่ต่อปี หรือ 8,125 11,875 และ 18,750 ไร่ ของพื้นที่ปลูก
                   ข้าวโพด ตามล าดับ ท าให้มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 5,683 ตันต่อปี หรือ 3,575
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136