Page 42 - การจัดทำค่ามาตรฐานของมหธาตุสำหรับแปลผลวิเคราะห์ดินและพืชในขมิ้นชัน Standard Values of Macronutrient Elements for Soil and Plant Analysis in Turmeric (Curcuma longa L.)
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          32

                   การจัดการธาตุอาหาร จึงควรเพิ่มอินทรียวัตถุในดินก่อน จากนั้นค่อยใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเติมธาตุอาหารในส่วนที่

                   ขาด ส่วนช่วงที่เหมาะสมของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในช่วง 16.30-29.78 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                   ใกล้เคียงกับค่าแนะน าส าหรับดินปลูกข้าว (19.22-27.33 มก./กก.) (สุทธิ์เดชา และคณะ, 2562) แต่อยู่ในช่วง

                   สูงกว่าค่าแนะน าในมันส าปะหลัง (4-15 มก./กก.) (Howeler, 2017) ทั้งนี้ เนื่องจากระดับพีเอชดินที่

                   เหมาะสมส าหรับขมิ้นชันอยู่ในช่วงสูงกว่า 5.5 ส่งผลให้ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สามารถละลายออกมาได้ดี
                   ค่าที่เหมาะสมจึงอยู่ในช่วงสูง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากค่ากลางที่ได้จากการส ารวจ ชี้ให้เห็นว่า

                   ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับต่ ากว่าค่ามาตรฐาน ดังนั้น การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสในพื้นที่ดังกล่าว อาจ

                   สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตเคอร์คูมินอยด์ได้ เนื่องจากฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบของรูปพลังงานที่ใช้ใน
                   กระบวนการเมแทบอลิซึมรวมถึงการสังเคราะห์สารส าคัญในขมิ้นชัน (Rodrigues et al., 2015) ในขณะที่

                   ช่วงที่เหมาะสมของแคลเซียมและแมกนีเซียมที่สกัดได้อยู่ในช่วงใกล้เคียงกับค่าแนะน าในดินทั่วไป (แคลเซียม
                   แมกนีเซียมที่สกัดได้ 1001-2000, 121-365 มก./กก.) (ส านักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, 2547ข) แต่

                   อยู่ในช่วงสูงกว่าค่าแนะน าในดินปลูกมันส าปะหลัง (แคลเซียมแมกนีเซียมที่สกัดได้ 200-1000, 49-122

                   มก./กก.) ส่วนช่วงที่เพียงพอของก ามะถันที่สกัดได้ พบว่า อยู่ในช่วงต่ ากว่าค่าแนะน าดังกล่าว (40-70
                   มก./กก.) (Howeler, 2017) แสดงให้เห็นว่า ความต้องการธาตุอาหารของพืชแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน

                   จึงควรจัดท าค่ามาตรฐานธาตุอาหารแบบเฉพาะเจาะจงตามชนิดพืช ซึ่งจะช่วยให้การจัดการดินและปุ๋ย
                   สอดคล้องกับความต้องการของพืชอย่างแท้จริง



                   4. ค่ามาตรฐานของมหธาตุในใบขมิ้นชัน
                          ผลการจัดท าค่ามาตรฐานมหธาตุที่เหมาะสมในใบขมิ้นชันจากการหาความสัมพันธ์ระหว่างความ

                   เข้มข้นธาตุอาหารกับผลผลิตเคอร์คูมินอยด์ เมื่อพิจารณาจากช่วงที่เพียงพอของความเข้มข้นธาตุอาหารในใบ
                   โดยใช้วิธีเส้นขอบเขต ชี้ให้เห็นว่า ระดับไนโตรเจนที่เหมาะสม อยู่ในช่วงใกล้เคียงกับค่าแนะน าส าหรับไม้ผล

                   บางชนิด เช่น ลองกอง (23.0-26.2 ก./กก.) (จ าเป็น และคณะ, 2549) และทุเรียน (20.0-24.0 ก./กก.)

                   (สุมิตรา และคณะ, 2545ข) แต่อยู่ในช่วงต่ ากว่าค่าแนะน าส าหรับมันส าปะหลัง (51.0-58.0 ก./กก.) (Howeler,
                   2017) และเผือก (40.0-45.0 ก./กก.) (Miyasaka et al., 2002) ทั้งนี้อาจเนื่องจาก พื้นที่ปลูกขมิ้นชันส่วนใหญ่

                   อยู่ในสภาวะแวดล้อมเดียวกับบริเวณที่ปลูกลองกองและทุเรียน เช่น อยู่ในพื้นที่ดอน ปริมาณน้ าฝนสูง ความ

                   เข้มข้นที่เหมาะสมของไนโตรเจนในใบจึงอยู่ในช่วงที่ใกล้เคียงกัน ในขณะที่ มันส าปะหลังส่วนใหญ่อยู่ในเขต
                   แห้งแล้ง ส่วนเผือกอยู่ในที่พื้นที่ลุ่มต่ ากว่า ส าหรับความเข้มข้นที่เหมาะสมของฟอสฟอรัส อยู่ในช่วงแคบและ

                   ต่ ากว่าค่าแนะน าในใบมันส าปะหลัง (3.8-5.0 ก./กก.) (Howeler, 2017) และเผือกเล็กน้อย (3.0-5.0 ก./กก.)
                   (Miyasaka et al., 2002) อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากค่ากลางของความเข้มข้นฟอสฟอรัสในใบที่ได้จาก

                   การส ารวจ ชี้ให้เห็นว่า ระดับฟอสฟอรัสในใบอยู่ในระดับต่ ากว่าค่ามาตรฐานเล็กน้อย สอดคล้องกับปริมาณ

                   ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินที่อยู่ในช่วงต่ ากว่าช่วงที่เพียงพอ จึงอาจเป็นธาตุที่เป็นปัจจัยจ ากัดผลผลิต
                   ขมิ้นชันในอนาคตได้ หากมีการจัดการธาตุอาหารไม่เหมาะสม ส่วนความเข้มข้นที่เหมาะสมของโพแทสเซียม

                   ในใบ อยู่ในช่วงสูงกว่าค่าแนะน าส าหรับมันส าปะหลัง (14.2-18.8 ก./กก.) (Howeler, 2017) แต่ใกล้เคียงกับ
                   ค่าแนะน าในใบเผือก (32.0-55.0 ก./กก.) (Miyasaka et al., 2002) เมื่อพิจารณาจากค่ากลางที่ได้จากการ

                   ส ารวจ แสดงให้เห็นว่า ความเข้มข้นโพแทสเซียมในใบอยู่ในระดับเพียงพอ อย่างไรก็ตาม เพื่อรักษาความอุดม
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47