Page 40 - การจัดทำค่ามาตรฐานของมหธาตุสำหรับแปลผลวิเคราะห์ดินและพืชในขมิ้นชัน Standard Values of Macronutrient Elements for Soil and Plant Analysis in Turmeric (Curcuma longa L.)
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          30

                                                             วิจารณ์


                   1. ข้อมูลดินที่ใช้ศึกษา

                          จากผลวิเคราะห์สมบัติดินจากแหล่งปลูกขมิ้นชันโดยรวม ซึ่งครอบคลุมทั้งแปลงที่ให้ผลผลิตดี ปาน
                   กลาง และต่ านั้น แสดงให้เห็นว่า ดินที่ใช้ปลูกขมิ้นชันส่วนใหญ่เป็นดินเนื้อละเอียด มีสมบัติเป็นกรดปานกลาง

                   (ส านักงานราชบัณฑิตยสภา, 2562) ทั้งนี้ อาจเนื่องจากพื้นที่ปลูกขมิ้นชันส่วนใหญ่อยู่ในที่ดอนมีฝนตกชุก

                   ภายใต้สภาวะอากาศแบบร้อนชื้น ดินเกิดกระบวนการผุพังสลายตัวอย่างรุนแรง ส่งผลให้มีการสะสม
                                    +
                   ไฮโดรเจนไอออน (H ) อยู่ในระดับสูง ในขณะที่แคตไอออนประจุบวกด่างถูกชะละลายออกไป จากอ านาจการ
                   ไล่ที่ของไฮโดรเจนไอออน ท าให้ดินมีผลตกค้างเป็นกรด อย่างไรก็ตาม ปริมาณอินทรียวัตถุแหล่งของ

                   ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และก ามะถันที่สกัดได้ มีความ
                   แปรปรวน พบค่า ตั้งแต่ช่วงต่ าถึงสูง ทั้งนี้ เป็นไปได้ว่า แปลงที่มีค่าต่ า เกษตรกรอาจมีการจัดการธาตุอาหาร

                   ไม่สมดุลกับส่วนที่สูญเสียไป เมื่อปลูกขมิ้นชันติดต่อกันหลายปี จึงส่งผลให้ระดับธาตุอาหารในดินเหลืออยู่ใน

                   ระดับต่ า เช่นเดียวกับกรณีศึกษาโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินนา พบว่า ในอดีตเกษตรกรไม่จ าเป็นต้อง
                   ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม เนื่องจากตามธรรมชาติของดินเหนียวมีการสะสมโพแทสเซียมอยู่สูง แต่เมื่อมีการปลูกข้าว

                   ติดต่อกันหลายปีส่งผลให้โพแทสเซียมที่พืชสามารถดูดใช้ได้อยู่ในระดับต่ า (สุทธิ์เดชา และคณะ, 2562) จาก
                   ประเด็นดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า การปลูกพืชในเชิงการค้าจ าเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อชดเชยธาตุอาหารในระดับที่สมดุล

                   กับส่วนที่ติดไปกับผลผลิตหรือสูญเสียออกจากพื้นที่ โดยสามารถประเมินปริมาณธาตุอาหารที่พืชดูดใช้และ

                   สูญเสียไปกับผลผลิต จากการวิเคราะห์สถานะธาตุอาหารในพืช


                   2. ข้อมูลพืชที่ใช้ศึกษา
                          จากผลวิเคราะห์ตัวอย่างใบขมิ้นจากพื้นที่โดยรวม ซึ่งครอบคลุมทั้งแปลงที่ให้ผลผลิตดี ปานกลาง

                   และต่ านั้น แสดงให้เห็นว่า ขมิ้นชันต้องการโพแทสเซียมปริมาณสูง เนื่องจากมีความเข้มข้นในใบสูงกว่าธาตุ

                   ชนิดอื่นอย่างเด่นชัด ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะ ขมิ้นชันจ าเป็นต้องใช้โพแทสเซียมในกระบวนการล าเลียงแป้งและ
                   น้ าตาลไปสะสมบริเวณเหง้า จึงมีการสะสมในใบเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการดังกล่าว ส่วน

                   ไนโตรเจน แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และก ามะถัน เป็นธาตุที่ขมิ้นชันต้องการในปริมาณรองลงมาถัด
                   จากโพแทสเซียม ตามล าดับ สอดคล้องกับการสะสมโพแทสเซียมในเหง้าขมิ้นชัน พบว่า หากประเมินจากค่า

                   กลาง ผลผลิตเหง้าขมิ้นชัน 1 กิโลกรัมของน้ าหนักแห้ง จะมีการสะสมโพแทสเซียมประมาณ 21 กรัม สูงกว่า

                   ข้อมูลที่มีรายงานในเหง้ามันส าปะหลัง ซึ่งรายงานการสะสมโพแทสเซียมในเหง้า 11.5 กรัมต่อกิโลกรัม
                   (Ezui et al., 2016) ชี้ให้เห็นว่า การปลูกขมิ้นชันควรให้ความส าคัญกับโพแทสเซียม เนื่องจากมีการสูญเสียไป

                   กับผลผลิตในอัตราสูง ส่วนธาตุอาหารชนิดอื่น ในผลผลิต 1 กิโลกรัม มีการสะสม ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส

                   แคลเซียม แมกนีเซียม และก ามะถัน 14, 2.4, 2, 2.3 และ 0.8 กรัม ตามล าดับ ดังนั้น หากการปลูกขมิ้นชันที่
                   ให้ผลผลิตน้ าหนักแห้ง 476 กิโลกรัมต่อไร่  (ค่ากลางจากการส ารวจ) ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส

                   โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และก ามะถัน ที่สูญเสียไปกับผลผลิต คือ 7, 1, 10, 1, 1 และ 0.4
                   กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ นั้นหมายถึงปริมาณธาตุอาหารที่ต้องเติมกลับคืนสู่ดินเพื่อชดเชยส่วนที่สูญเสีย

                   ออกไป หรือคิดเป็นปริมาณปุ๋ย N, P O , K O, CaO, MgO และ S จ านวน 7, 2.6, 12, 1.3, 1.8 และ 0.4
                                                  2 5
                                                        2
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45