Page 41 - การจัดทำค่ามาตรฐานของมหธาตุสำหรับแปลผลวิเคราะห์ดินและพืชในขมิ้นชัน Standard Values of Macronutrient Elements for Soil and Plant Analysis in Turmeric (Curcuma longa L.)
P. 41

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          31

                   กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มระดับธาตุอาหารในข้างต้น สามารถใช้ได้ในกรณีที่ดินมีความ

                   อุดมสมบูรณ์อยู่แล้วเท่านั้น หากเป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า หรือมีปัญหาความสมดุลของธาตุอาหาร
                   จ าเป็นต้องน าผลวิเคราะห์ธาตุอาหารในพืช มาพิจารณาร่วมกับผลวิเคราะห์ดิน เพื่อพิจารณาความเพียงพอ

                   และความสามารถในการดูดใช้ธาตุอาหารของพืช เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของธาตุชนิดนั้น ๆ นอกจากนี้

                   จากผลวิเคราะห์ปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในเหง้าขมิ้นชัน เมื่อพิจารณาจากค่ากลาง ชี้ให้เห็นว่า ส่วนใหญ่มี
                   การสะสมสารเคอร์คูมินอยด์ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของต ารับยาสมุนไพรไทย ซึ่งก าหนดให้มีความเข้มข้นเคอร์

                   คูมินอยด์จากเหง้าขมิ้นชันไม่น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ (Ministry of Public Health, 2009) และเมื่อ

                   ประเมินผลผลิตเคอร์คูมินอยด์ต่อหน่วยพื้นที่ปลูก พบว่า มีความผันแปรค่อนข้างสูงอยู่ในช่วง 2-231 กิโลกรัม
                   ต่อไร่ ทั้งนี้ อาจเนื่องจากความแตกต่างของปัจจัยทางสภาวะแวดล้อม (Sandeep et al., 2017) โดยเฉพาะ

                   สมบัติดินทางเคมีและกายภาพที่ต่างกัน ประกอบกับการปลูกขมิ้นชันมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสารส าคัญ
                   จากผลผลิต ดังนั้น การเลือกใช้ผลผลิตเคอร์คูมินอยด์ต่อหน่วยพื้นที่ ส าหรับเป็นตัวแปรในการจัดท าค่า

                   มาตรฐานสมบัติดินหรือสถานะธาตุอาหารที่เหมาะสมในพืช จึงมีความเหมาะสมกว่าการเลือกใช้ผลผลิต

                   น้ าหนักสดหรือน้ าแห้งของเหง้าขมิ้นชัน


                   3. ค่ามาตรฐานสมบัติดินส าหรับขมิ้นชันเบื้องต้น
                          ผลการจัดท าค่ามาตรฐานสมบัติดินที่เหมาะสมส าหรับขมิ้นชันจากการหาความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติ

                   ดินกับผลผลิตเคอร์คูมินอยด์ เมื่อพิจารณาจากช่วงที่เหมาะสมของสมบัติดินส าหรับขมิ้นชันโดยใช้วิธีเส้น

                   ขอบเขต ชี้ให้เห็นว่า พีเอชดินควรอยู่ในช่วงที่เป็นกรดเล็กน้อยถึงปานกลาง (5.8-6.4) (ส านักงานราชบัณฑิตย
                   สภา, 2562) เนื้อดิน ควรเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง ดินร่วน หรือดินร่วนเหนียว ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเนื้อดินปาน

                   กลางถึงละเอียด เนื่องจากขมิ้นชันต้องการโพแทสเซียมสูงในการท าหน้าที่ล าเลียงแป้งและน้ าตาลไปสร้าง
                   ผลผลิต มีรายงานเหง้าขมิ้นชันมีการสะสมคาร์โบไฮเดรต ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ (Nelson et al.,

                   2017) ในขณะที่ ดินเนื้อละเอียดมีการสะสมโพแทสเซียมอยู่สูงกว่าดินเนื้อหยาบ (พัสกร และคณะ, 2561)

                   สอดคล้องกับค่ามาตรฐานในช่วงที่เพียงพอของโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดิน พบว่า อยู่ในช่วง 167-247
                   มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สูงกว่าค่าแนะน าในดินทั่วไป (61-90 มก./กก.) (ส านักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน,

                   2547ข) นาข้าว (76.88-120.80 มก./กก.) (สุทธิ์เดชา และคณะ, 2562) และมันส าปะหลัง (59-98 มก./กก.)

                   (Howeler, 2017) เช่นเดียวกับกรณีของอินทรียวัตถุ ชี้ให้เห็นว่า ระดับที่เหมาะสมอยู่ในช่วงสูงกว่าค่าแนะน า
                   ปกติ ทั้งนี้ อินทรียวัตถุเป็นแหล่งของธาตุอาหารพืชหลากหลายชนิดธาตุ โดยเฉพาะแหล่งของไนโตรเจน ซึ่งมี

                   ความเข้มข้นในใบและเหง้าขมิ้นชันสูง รองจากโพแทสเซียม มีรายงานเหง้าขมิ้นชันมีโปรตีนสะสมอยู่ประมาณ
                   6-8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโปรตีนมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ (Nelson et al., 2017) คาร์บอนจากอินทรียวัตถุยัง

                   เป็นองค์ประกอบของกรดซินนามิก  (cinnamic acid) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารเคอร์คูมินอยด์

                   (Rodrigues et al., 2015) นอกจากนี้ อินทรียวัตถุยังช่วยดูดซับน้ าและธาตุอาหาร ในขณะที่ ขมิ้นชันอาจมี
                   การดูดใช้ธาตุอาหารแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากเป็นพืชอายุสั้น แหล่งของธาตุอาหารจึงมาจาก

                   กระบวนการย่อยสลายอินทรีย์สารในดิน ซึ่งจะค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารออกมา อีกทั้ง ในกรณีดินเนื้อ
                   ละเอียด อินทรียวัตถุยังช่วยปรับโครงสร้างดิน ให้สามารถระบายน้ าระบายอากาศได้ดี จึงช่วยให้เหง้าขมิ้นชัน

                   ไม่ได้รับความเสียหายจากสาเหตุน้ าท่วมขัง ท าให้สามารถให้ผลผลิตได้ดีกว่าบริเวณที่มีอินทรียวัตถุต่ า
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46