Page 109 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำโดมใหญ่ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
P. 109

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             79



                   ในช่วงการเจริญเติบโตของพืช (r) และลักษณะของเนื้อดิน (s) ซึ่งมีผลทางอ้อมในเรื่องความจุในการอุ้มน้ า ที่

                   เป็นประโยชน์ต่อพืช
                              3) ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability: o) คุณลักษณะที่ดิน

                   ที่เป็นตัวแทน ได้แก่ สภาพการระบายน้ าของดิน ทั้งนี้เพราะพืชโดยทั่วๆ ไป รากพืชต้องการออกซิเจนใน

                   ขบวนการหายใจ
                              4) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient availability) คุณลักษณะที่ดินที่เป็น

                   ตัวแทน ได้แก่ ปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน (organic matter : m) ความเป็นกรด-ด่างของดิน (soil
                   reaction : a) ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส (available phosphorus : p) และโพแทสเซียม ที่

                   แลกเปลี่ยนได้ (exchangeable potassium : k)

                              5) การกักเก็บธาตุอาหาร (Nutrient retention) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความ
                   อิ่มตัวด้วยเบส (b) และความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออนบวก (cation exchange capacity: c)

                              6) ความเสียหายจากน้ าท่วม (Flood hazard: f) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่
                   จ านวนครั้งที่น้ าท่วมในช่วงรอบปี

                              7) การมีเกลือมากเกินไป (Excess of salts: x) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่

                   ปริมาณเกลืออิสระที่สะสมมากเกินพอจนเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช
                              8) ศักยภาพการใช้เครื่องจักร (Potential for mechanization: w) คุณลักษณะที่ดินที่เป็น

                   ตัวแทน ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่ ปริมาณหินโผล่ ปริมาณก้อนหิน และการมีเนื้อดินเหนียวจัด ซึ่ง

                   ปัจจัยทั้ง 4 นี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการไถพรวนโดยเครื่องจักร
                              9) ความเสียหายจากการกร่อน (Erosion hazard: e) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่

                   ความลาดชันของพื้นที่




                              หลักการของ FAO Framework ได้จ าแนกอันดับความเหมาะสมของที่ดินเป็น 2 อันดับ

                   (Order) คือ อันดับที่เหมาะสม (Order S ; Suitability) และอันดับที่ไม่เหมาะสม (Order N ; Not
                   suitability) และจาก 2 อันดับที่ได้ แบ่งย่อยออกเป็น 4 ชั้น (Class) ดังนี้


                                  S1          ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (Highly suitable)
                                  S2          ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Moderately suitable)

                                  S3          ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (Marginally suitable)

                                  N           ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม (Not suitable)

                              นอกจากนี้ในแต่ละชั้นความเหมาะสม แบ่งออกเป็นชั้นย่อย (Subclass) ซึ่งเป็น ข้อจ ากัด

                   ของคุณภาพที่ดินที่มีอิทธิพลรุนแรงที่สุดต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืช

                                  S1
                                  S2          S2rbcmpka, S2sbcmpka, S2bcmpka
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114