Page 108 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำโดมใหญ่ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
P. 108

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          78



               มีอายุได้ 30 และ 60 วันตามล าดับ การเก็บเกี่ยวจะ เก็บเกี่ยวมันส าปะหลังที่อายุ 10-11 เดือน ผลผลิต

               เฉลี่ยเท่ากับ 2,470 กิโลกรัมต่อไร่
                            1.3) ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูกซึ่งมีราคาดี เกษตรกรโดยส่วน

               ใหญ่ใช้พันธุ์ RRIM 600 การปลูก เตรียมหลุมปลูกโดยมีขนาดกว้างเท่ากับ 50x50x50 เซนติเมตร ย่อยดิน

               บนให้ร่วนแล้วผสมปุ๋ยร็อคฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุม การใส่ปุ๋ย แบ่งใส่ตามช่วงอายุของยางพารา
               เกษตรกรในพื้นที่ใช้ปุ๋ยหลายชนิดตามท้องตลาดปุ๋ยที่ใช้ส าหรับยางพารา ได้แก่ ปุ๋ยเม็ด สูตร 18-10-16

               (ดินร่วน) สูตร 16-8-14 (ดินทราย) ใส่ช่วงอายุ 2-4 เดือน ปุ๋ยสูตร 18-4-5 (ดินร่วน) และ ปุ๋ยสูตร 14-419
               (ดินทราย) ใส่ช่วงอายุยางพารา 47-71 วัน อัตราที่ใส่ 40-45 กรัมต่อต้น เกษตรกรยังมีการใส่ปุ๋ยคอก

               ปุ๋ยหมัก ร่วมด้วย การก าจัดวัชพืชใช้แรงงานคนและสารเคมีในการป้องกันและก าจัดวัชพืช ผลผลิต

               โดยเฉลี่ย 292.00 กิโลกรัมต่อไร่
                            1.4) ปาล์มน้ ามัน เป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูก เกษตรกรโดยส่วนใหญ่ใช้

               พันธุ์ปาล์มน้ ามันลูกผสมพันธุ์เทเนอรา (D x P) ซึ่งเป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 ที่ได้จากการผสมระหว่าง
               พ่อพันธุ์พิสิเฟอรา (Pisifera) และแม่พันธุ์ดูรา (Dura) การปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสมและเป็นที่นิยมกัน

               มาก คือระยะ 9 x 9 x 9 เมตร ขนาดของหลุม 45 x 45 x 35 รูปทางเป็นรูปตัวยู ดินชั้นล่าง ผสมกับปุ๋ย

               หินฟอสเฟต (0-3-0) และโดโลไมท์อย่างละ 250-500 กรัม/หลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ปริมาณ 20-
               30 กรัม/หลุม (1 ช้อนโต๊ะ) ให้ปุ๋ยปาล์มปีละ 2 ครั้งในช่วงต้นฝนประมาณเดือน พ.ค. โดยจะให้ปุ๋ย 6 กก./

               ต้น ใช้ปุ๋ย 3 สูตร คือ 21-0-0 จ านวน 2 กก. 0-0-60 จ านวน 2 กก. และ 14-7-25 จ านวน 2 กก ปุ๋ยครั้งที่

               2 ให้ปลายฝนประมาณเดือนกันยายน ใช้สูตรเดิมแต่ลดปริมาณปุ๋ยลงชนิดละครึ่งกิโลกรัม ใส่ปุ๋ยอินทรีย์
               ปีละ 1 ครั้ง ปริมาณการให้ 5 กก./ต้น นอกจากนี้ยังเสริมด้วยโบรอนโดยจะใส่ก่อนฝน 2 ครั้ง ๆ ละ 2-3

               ขีดต่อต้น การก าจัดวัชพืชใช้แรงงานคนและสารเคมีในการป้องกันและก าจัดวัชพืช ผลผลิต 2.7-3.0
               ตันต่อไร่





                           คุณภาพที่ดินที่น ามาประเมินส าหรับการปลูกพืชในระบบของ FAO Framework ได้ก าหนด
               ไว้ทั้งหมด 25 ชนิด ข้อมูลส าหรับใช้ในการประเมินความเหมาะสมของที่ดิน พื้นที่ลุ่มน้ าห้วยต าแย

               อ าเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ศันสนีย์ และ

               ค ารณ, 2562)
                           1) ระบอบอุณหภูมิ (Temperature regime: t) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่

               ค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูปลูกเพราะอุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการงอกของเมล็ด ต่อการออกดอกของพืช บางชนิด

               และมีส่วนสัมพันธ์กับขบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช
                           2) ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (Moisture availability) คุณลักษณะที่ดินที่เป็น

               ตัวแทน ได้แก่ ระยะเวลาการท่วมขังของน้ าในฤดูฝน ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยในรอบปีหรือความต้องการน้ า
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113