Page 53 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองกุย อำเภอกุยบุรี และอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 53

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          37



                    สภาพปัญหาและข้อจ ากัดของดิน

                    สภาพปัญหาและข้อจ ากัดของดินในพื้นที่ลุ่มน้ าคลองกุย ส่วนใหญ่เป็นดินตื้นและเนื้อดินปนเศษหิน

               ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ าและการชะล้างพังทลายของดิน เนื่องจากพื้นที่มี

               ความลาดชันสูง โดยแยกเป็น 3 ประเภทหลัก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2561) ซึ่งพบการกระจายตัวในพื้นที่
               ต่าง ๆ (ตารางที่ 3-4 ภาพที่ 3-5) โดยมีรายละเอียด พอสังเขป ดังนี้

                    1) ปัญหาดินตื้น

                       เป็นดินที่เป็นชั้นดินหนาประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนใหญ่มีเนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย
               และดินร่วนปนดินเหนียว ชั้นถัดไปเป็นชั้นดินมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนดินเหนียวและดิน

               เหนียวที่มีปริมาณกรวด หรือเศษหินปะปนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 35 โดยปริมาตร หรือพบหินพื้น
               ภายในความลึก 50 เซนติเมตร จากผิวดิน จากลักษณะของดินดังกล่าวถือเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโต

               ของพืชด้านการชอนไชของรากพืช ท าให้การเกาะยึดตัวของดินไม่ดียากแก่ การไถพรวน เกิดการชะล้าง
               พังทลายได้ง่าย สภาพปัญหานี้พบครอบคลุมเนื้อที่รวม 62,438 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 18.89 ของเนื้อที่

               ลุ่มน้ า

                    2) ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า
                      เมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินในประเทศไทยนั้น กรมพัฒนาที่ดิน

               ใช้เกณฑ์การประเมินจากค่าวิเคราะห์ดิน 5 รายการ คือ ร้อยละปริมาณอินทรียวัตถุปริมาณฟอสฟอรัสที่

               เป็นประโยชน์ ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ ความจุแลกเปลี่ยน แคตไอออน และอัตราร้อยละ
               ความอิ่มตัวเบส ซึ่งแต่ละรายการจะมีเกณฑ์ประเมินเป็นค่าสูง  ปานกลาง ต่ า เนื่องจากสภาพทาง

               ธรรมชาติ โดยดินมีวัตถุต้นก าเนิดดินที่มีแร่ธาตุอาหารตามธรรมชาติต่ า ประกอบกับมีการใช้ประโยชน์

               ที่ดินอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่ได้มีการปรับปรุงบ ารุงดินเท่าที่ควร ท าให้ดินเสื่อมโทรม
               ความอุดมสมบูรณ์ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตช้า ผลผลิตตกต่ า คุณภาพไม่ดีสภาพปัญหา

               นี้พบกระจายครอบคลุมเนื้อที่รวม 45,347 ไร่ หรือร้อยละ 13.72 ของเนื้อที่ลุ่มน้ า นอกจากนี้ยังพบปัญหา
               ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ครอบคลุมเนื้อที่รวม 839 ไร่ หรือร้อยละ 0.25 ของเนื้อที่ลุ่มน้ า

                     3) ปัญหาพื้นที่มีความลาดชันสูง

                        พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ส่วนใหญ่มีสภาพการใช้ที่ดินเป็นป่าไม้ พื้นที่นี้ไม่เหมาะที่จะน ามาใช้
               ประโยชน์ด้านการเกษตร และมีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดินสูง ส่วนใหญ่พบกระจายตัวอยู่ใน

               พื้นที่ต าบลหาดขาม อ าเภอกุยบุรี มีเนื้อที่ 211,610 ไร่ หรือร้อยละ 64.01 ของเนื้อที่ลุ่มน้ า
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58