Page 56 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองกุย อำเภอกุยบุรี และอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 56

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             40










                          พื้นที่ลุ่มน้ าคลองกุย ลักษณะลุ่มน้ าวางตัวตามแนวทิศตะวันตก-ทิศตะวันออก เป็นส่วนหนึ่งของ
                   ลุ่มน้ าหลักเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ โดยมีรายละเอียด (ภาพที่ 3-6) ดังนี้

                          ลุ่มน้ าสาขาคลองกุย เป็นลุ่มน้ าสาขาที่อยู่ตอนกลางของลุ่มน้ าเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์

                   ครอบคลุมพื้นที่อ าเภอกุยบุรีและอ าเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่
                   เป็นภูเขาลาดชัน มีแม่น้ าสายส าคัญ คือ แม่น้ ากุยบุรี ซึ่งมีต้นก าเนิดจากสันปันน้ าเทือกเขาอุทยานแห่งชาติ

                   กุยบุรีทางทิศตะวันตกของพื้นที่ ไหลจากคลองกุย ห้วยลึก ห้วยแห้ง และห้วยพุบอน ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ า

                   ห้วยยางชุม และไหลลงสู่อ่าวไทย
                          ล าน้ าที่ส าคัญอื่น ๆ ได้แก่ คลองกุย คลองหก ห้วยดงมะไฟ ห้วยพุบอน ห้วยแพรกซ้าย ห้วยลึก

                   ห้วยส าโหรง ห้วยหมาหอน ห้วยแห้ง ส าหรับแหล่งน้ าที่ส าคัญในพื้นที่ ได้แก่ อ่างเก็บน้ ายางชุม อ่างเก็บน้ า
                   ห้วยลึก อ่างเก็บน้ าห้วยส าโหรง อ่างเก็บน้ าบ้านโป่งกะสัน และ อ่างเก็บน้ าบ้านย่านซื่อ





                          - แหล่งน้ าที่มีอยู่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากมีขนาดเล็กและตื้นเขินขาดระบบ
                   ส่งน้ าและเครื่องสูบน้ า ตลอดจนการบริหารจัดการที่ดี

                          - ขาดแคลนน้ าเพื่อการอุปโภคบริโภค ตลอดจนแหล่งน้ าเพื่อการเกษตรโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง

                   ในบริเวณพื้นที่ใกล้ล าน้ าหรือแหล่งน้ าขนาดเล็ก
                          - การบุกรุกพื้นที่แหล่งน้ าจากชาวบ้าน บริเวณแหล่งน้ าหลายสายถูกบุกรุกจากชาวบ้านเพื่อ

                   น าไปใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกพืชสวนและไร่นา เป็นต้น

                          - คุณภาพน้ าในล าน้ าสายส าคัญบางสายเสื่อมโทรม เนื่องจากการปนเปื้อนของสารเคมีทาง
                   การเกษตรสู่ล าน้ าโดยตรง

                          - การพัฒนาพื้นที่แหล่งน้ าที่มีอยู่ไม่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ มีศักยภาพใน
                   การเก็บและการระบายน้ า

                          - ปัญหาน้ าท่วมฉับพลันที่เกิดขึ้นในบางชุมชน เนื่องจากล าน้ ามีความลาดชันสูง ไม่มีแหล่งเก็บกัก
                   น้ าและชะลอการไหลของน้ า อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่เป็นทางผ่านของน้ าอีกด้วย

                           แนวโน้มในอนาคตสถานการณ์ปัญหาของแหล่งน้ า เช่น ปัญหาการขาดแคลนน้ าใช้ในช่วงฤดูแล้ง

                   ปัญหาน้ าท่วมในช่วงฤดูฝนที่เกิดขึ้นในบางพื้นที่ ปัญหาการบุกรุกพื้นที่แหล่งน้ า ปัญหาการพัฒนาพื้นที่
                   แหล่งน้ า และปัญหาคุณภาพแหล่งน้ า ในอนาคตเมื่อค านึงถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการใช้น้ าในด้าน

                   ต่าง ๆ อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะท าให้เกิด

                   ความไม่สมดุลในด้านการใช้น้ าและทรัพยากรธรรมชาติอื่นที่เกี่ยวข้องอาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา
                   ปัญหาเหล่านี้ยังคงเป็นปัญหาส าคัญที่ควร ได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61