Page 49 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองกุย อำเภอกุยบุรี และอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 49
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
33
ส่วนใหญ่พบกระจายตัวในพื้นที่ต าบลหาดขามอ าเภอกุยบุรี ลักษณะดินเป็นดินลึกปานกลางถึงลึกมาก มี
เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายถึงดินร่วนเหนียวปนทรายปนกรวดมาก
พบในสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด และชุดดินท่าม่วง (Tm) มีเนื้อที่ร้อยละ
0.25 ของเนื้อที่ลุ่มน้ า ส่วนใหญ่พบในพื้นที่ต าบลหาดขาม อ าเภอกุยบุรี ลักษณะดินเป็นดินลึก มีเนื้อดิน
บนเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย/ดินทรายปนดินร่วน พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบถึง
ค่อนข้างราบเรียบ ดินมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดการชะล้างพังทลาย โดยเฉพาะดินที่มีลักษณะเนื้อดินบน
และดินล่างต่างกัน ดินตื้นที่มีเนื้อดินร่วนหยาบ และมีความลาดชันสูง (สภาพพื้นที่ลอนชันและพื้นที่เนิน
เขา ความลาดชัน 12-35 เปอร์เซ็นต์) ควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม เช่น การท าคันดินกั้น
น้ า ท าขั้นบันไดและปลูกพืชตามแนวระดับขวางความลาดชันของพื้นที่ เพื่อชะลอความเร็วของน้ าที่ไหลบ่า
ผ่านผิวดินช่วยลดการชะล้างของหน้าดิน และน้ าซึมผ่านลงไปในดินชั้นล่างได้มากขึ้น ท าให้ความชื้นในดิน
มากขึ้นนอกจากนี้ ควรปลูกพืชคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นของดินไว้ และยังช่วยลดการชะล้างพังทลาย
ของดินได้อีกด้วย
เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยด้านลักษณะของดินที่มีผลต่อการชะล้างพังทลายของดิน ซึ่งดินแต่ละชนิดจะ
ทนต่อการชะล้างพังทลายที่แตกต่างกันในสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึง โดยเฉพาะค่าปัจจัยความคงทนของ
ดิน (K-factor) ที่สามารถน าไปประเมินการสูญเสียดินในสมการการสูญเสียดินสากล(USLE) จะเห็นว่า
ปัจจัยสมบัติดินที่มีผลต่อค่าปัจจัยความคงทนของดิน ได้แก่ (1) ผลรวมปริมาณร้อยละของทรายแป้งและ
ปริมาณร้อยละของทรายละเอียดมาก (% silt + % very fine sand) (2) ปริมาณร้อยละของทราย
(%sand) (3) ปริมาณร้อยละของอินทรียวัตถุในดิน (% organic matter) (4) โครงสร้างของดิน
(soil structure) และ (5) การซาบซึมน้ าของดิน (permeability) (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545) จากการศึกษา
ค่าปัจจัยความคงทนของดินต่อการชะล้างพังทลาย (K-factor) ตามชนิดวัตถุต้นก าเนิดดินในพื้นที่สูงของ
ลุ่มน้ าคลองกุย พบว่า ผลรวมปริมาณร้อยละของทรายแป้งและปริมาณร้อยละของทรายละเอียดมากมีค่า
สูง ส่งผลให้ค่า K-factor สูง และปริมาณร้อยละของอินทรียวัตถุในดินสูงส่งผลให้ค่า K-factor ต่ า และยัง
พบว่าดินในกลุ่มวัตถุต้นก าเนิดดินพวก หินตะกอนเนื้อหยาบมีแนวโน้มให้ค่า K-factor มากที่สุด และดิน
ในกลุ่มวัตถุต้นก าเนิดดินพวกหินอัคนีสีเข้มมีค่า K-factor น้อยที่สุด จากลักษณะและสมบัติดินดังกล่าว
ชี้ให้เห็นว่า ดินที่มีค่า K-factor สูง (ง่ายต่อการกร่อน) จะมีแนวโน้มเกิดการชะล้างพังทลายของดินได้สูง
ส่วนดินที่มีค่า K-factor ต่ า (ยากต่อการกร่อน) จะมีแนวโน้มเกิดการชะล้างพังทลายของดินได้ต่ า
ดินที่พบเป็นส่วนใหญ่ของพื้นที่ อยู่ในกลุ่มดินที่มีวัตถุต้นก าเนิดดินพวกหินตะกอนเนื้อหยาบซึ่งมีเนื้อ
ดินปนทราย ส่วนใหญ่มีปริมาณอินทรียวัตถุต่ า ได้แก่ ชุดดินท่ายาง (Ty) และชุดดินลาดหญ้า (Ly) คิดเป็น
ร้อยละ 24.58 ของเนื้อที่ลุ่มน้ า และดินในกลุ่มวัตถุต้นก าเนิดจากตะกอนน้ าพาซึ่งมี เนื้อดินปนทรายและ
ปริมาณอินทรียวัตถุต่ า ได้แก่ ชุดดินปราณบุรี (Pr) และชุดดินท่าม่วง (Tm) คิดเป็นร้อยละ 8.31 ของเนื้อ
ที่ลุ่มน้ า มีค่าปัจจัยความคงทนของดิน (K-factor) เท่ากันทุกชุดดิน
นอกจากปัจจัยด้านลักษณะสมบัติของดินแล้ว ปัจจัยด้านสภาพพื้นที่ และการใช้ประโยชน์ที่ดินก็มี
ผลต่อการชะล้างพังทลายของดิน โดยเฉพาะความลาดชันของพื้นที่จะมีผลโดยตรงต่อการชะล้างพังทลาย