Page 46 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองกุย อำเภอกุยบุรี และอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             30






                       พื้นที่โครงการอยู่ในพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตก

                   เฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลท าให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ได้แก่ ฤดูฝนเกิดในช่วงกลางเดือน

                   พฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ฤดูหนาวเกิดในช่วงกลางเดือนตุลาคมถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์และฤดู
                   ร้อนเกิดในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้สภาพภูมิประเทศของจังหวัด

                   ประจวบคีรีขันธ์ที่อยู่ติดกับทะเลและอยู่ในพื้นที่อับฝนท าให้อุณหภูมิระหว่างฤดูกาลและกลางวันกลางคืน

                   จึงไม่แตกต่างกันมากนัก และมีฝนค่อนข้างน้อย
                       จากข้อมูลอุตุนิยมวิทยาของกรมอุตุนิยมวิทยา มีสถานีตรวจอากาศในพื้นที่ ได้แก่ สถานีตรวจวัด

                   อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ต าบลเกาะหลัก อ าเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยแบ่งรายละเอียด

                   ของลักษณะภูมิอากาศของสถานีตรวจอากาศ ช่วง 30 ปี คือ (ปี พ.ศ. 2533-2562)รายละเอียด ดังนี้
                       1) อุณหภูมิ

                         จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27.70 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดใน
                   เดือนเมษายน 34.60 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยต่ าสุดในเดือนมกราคม 21.20 องศาเซลเซียส

                       2) ปริมาณน้ าฝน

                         จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีปริมาณน้ าฝนรวมตลอดปี 1,106.30 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณน้ าฝน
                   สูงสุดในเดือนตุลาคม 228.6 มิลลิเมตร และปริมาณน้ าฝนต่ าสุดในเดือนธันวาคม 26.10 มิลลิเมตร

                       3) ปริมาณน้ าฝนใช้การได้ (Effective Rainfall : ER)
                         ปริมาณน้ าฝนใช้การได้ คือ ปริมาณน้ าฝนที่เหลืออยู่ในดิน ซึ่งพืชสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้

                   ภายหลังจากมีการไหลซึมลงไปในดินจนดินอิ่มตัวด้วยน้ าแล้วไหลบ่าออกมากักเก็บในพื้นดินจังหวัด

                   ประจวบคีรีขันธ์ มีปริมาณน้ าฝนใช้การได้ 888.9 มิลลิเมตร ในเดือนตุลาคม มีปริมาณน้ าฝนใช้การได้มาก
                   ที่สุด 145.0 มิลลิเมตร และเดือนกุมภาพันธ์มีปริมาณน้ าฝนใช้การได้น้อยที่สุด คือ 21.5มิลลิเมตร

                       4) ความชื้นสัมพัทธ์และศักยภาพการคายระเหยน้ า

                         จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 76.60 เปอร์เซ็นต์ โดยมีความชื้น
                   สัมพัทธ์สูงสุดในเดือนตุลาคม 82.00 เปอร์เซ็นต์ และต่ าสุดในเดือนธันวาคม 71.00 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณ

                   การคายระเหยเฉลี่ยตลอดปี 61.90 มิลลิเมตร ปริมาณการคายระเหยสูงสุด 69.40 มิลลิเมตร ในเดือน
                   พฤษภาคม ปริมาณการคายระเหยต่ าสุด 52.60 มิลลิเมตร ในเดือนกุมภาพันธ์

                       5) การวิเคราะห์ช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมส าหรับปลูกพืช

                       จากการวิเคราะห์สถานการณ์สมดุลของน้ า เพื่อการเกษตรด้วยข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยราย
                   เดือน และค่าศักยภาพการคายระเหยน้ าเฉลี่ยรายเดือน (Evapotranspiration : ETo) ซึ่งค านวณโดยใช้

                   โปรแกรม Cropwat for Windows Version 8.0 โดยพิจารณาจากช่วงระยะที่น้ าฝนอยู่ที่เหนือระดับเส้น
                   0.5 ของค่าศักยภาพการคายระเหยน้ า (0.5 ETo) เป็นหลัก (ภาพที่ 3-3) สามารถสรุปได้ดังนี้

                       (1) ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช เป็นช่วงที่ดินมีความชื้นพอเหมาะต่อการปลูกพืชซึ่งเป็น
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51