Page 83 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยท่าแค จังหวัดนครราชสีมา
P. 83

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             69


                   เหนือต้นทุนทั้งหมด 1,400.31 บาทต่อไร่ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนทั้งหมด 1.27 พื้นที่ดินที่มีการ

                   ชะล้างพังทลายของดินระดับปานกลาง ผลผลิตเฉลี่ย 3,008.33 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตทั้งหมด
                   5,337.45 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 679.21 บาทต่อไร่ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน

                   ทั้งหมด 1.13 เมื่อพิจารณาในภาพรวมของผลผลิต ต้นทุนการผลิต และผลตอบแทนของการผลิตข้าวโพด

                   เลี้ยงสัตว์พื้นที่ดินแต่ละระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน พบว่า ต้นทุนการผลิตมีแนวโน้ม
                   ที่เพิ่มขึ้นตามระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินที่เพิ่มขึ้น ปริมาณผลผลิตมีแนวโน้มลดลง

                   เมื่อระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนมีแนวโน้ม
                   ลดลง เมื่อระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินเพิ่มสูงขึ้น

                           3.4) อ้อยโรงงาน ปลูกในพื้นที่ดินที่มีการชะล้างพังทลายของดิน 2 ระดับ คือ ระดับน้อย และ

                   ระดับปานกลาง พันธุ์ที่ใช้ปลูก คือ พันธุ์ขอนแก่น 3 พื้นที่ดินที่มีการชะล้างพังทลายของดินระดับน้อย ผลผลิต
                   เฉลี่ย 7,720.65 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนทั้งหมด 8,642.31 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 622.47

                   บาทต่อไร่ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนทั้งหมด 1.07 พื้นที่ดินที่มีการชะล้างพังทลายของดินระดับ
                   ปานกลาง ผลผลิตเฉลี่ย 7,490.32 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนทั้งหมด 8,826.42 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือ

                   ต้นทุนทั้งหมด 161.96 บาทต่อไร่ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนทั้งหมด 1.02 เมื่อพิจารณาในภาพรวม

                   ของผลผลิต ต้นทุนการผลิต และผลตอบแทนของการผลิตอ้อยโรงงาน พื้นที่ดินแต่ละระดับความรุนแรง
                   ของการชะล้างพังทลายของดิน พบว่า ต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นตามระดับความรุนแรงของ

                   การชะล้างพังทลายของดินที่เพิ่มขึ้น ปริมาณผลผลิตมีแนวโน้มลดลงเมื่อระดับความรุนแรงของการชะล้าง

                   พังทลายของดินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนมีแนวโน้มลดลง เมื่อระดับความรุนแรงของ
                   การชะล้างพังทลายของดินเพิ่มสูงขึ้น

                           เมื่อพิจารณาผลจากการเกิดชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่เพาะปลูกพืช โดยเฉพาะผลผลิต
                   ต้นทุนการผลิต และผลตอบแทนของการปลูกพืชในพื้นที่มีระดับการชะล้างพังทลายต่างกัน จะเห็นว่า

                   ภาพรวมของต้นทุนต่อหน่วยผลิตของแต่ละพืชมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อท าการปลูกในพื้นที่มีระดับความรุนแรง

                   ของการชะล้างพังทลายของดินที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อยโรงงานซึ่งอาจ
                   เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงต้นทุนผันแปรในการผลิต เช่น ค่าจ้างแรงงาน ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย นอกจากนี้

                   พบว่า ผลผลิตของทุกพืชมีปริมาณลดลงตามระดับความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของการชะล้างพังทลาย
                   โดยเฉพาะมันส าปะหลัง
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88