Page 6 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยท่าแค จังหวัดนครราชสีมา
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




               เพิ่มขึ้นของพื้นที่เมือง ภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ในพื้นที่เกษตรโดยเฉพาะพื้นที่นามีแนวโน้ม

               ลดลง จากเดิมเนื้อที่ 76,089 ไร่ เป็น 61,534 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 32.27 ของเนื้อที่เดิม ส่วนพื้นที่ปลูก
               พืชไร่ เกษตรผสมผสาน ไม้ผล ไม้ยืนต้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดว่าเป็นเพราะกลไกของตลาดด้านราคาและ

               นโยบายของภาครัฐจากการส่งเสริมการลดพื้นที่ท านาไม่เหมาะสม




                       พื้นที่ส่วนใหญ่มีความรุนแรงของการชะล้างพังทลายในระดับน้อย โดยมีปริมาณการสูญเสียดิน

               0-2 ตันต่อไร่ต่อปี ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ  76.61 ของเนื้อที่ทั้งหมด โดยมีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ค่อนข้าง
               ราบเรียบ การใช้ที่ดินเป็นการท านา และพื้นที่ที่มีความรุนแรงของการชะล้างพังทลายในระดับปานกลาง

               ปริมาณการสูญเสียดิน 2-5 ตันต่อไร่ต่อปี สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ค่อนข้างราบเรียบ โดยมีปริมาณการสูญเสียดิน

               0-2 ตันต่อไร่ต่อปี โดยมีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอดลานเล็กน้อย มีการใช้ที่ดินเพื่อการปลูกพืชไร่ ได้แก่
               มันส าปะหลังและอ้อยโรงงาน ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 23.39 ของเนื้อที่ทั้งหมด พบบริเวณขอบทั้งสองด้าน

               ของพื้นที่ลุ่มน้ า เมื่อพิจารณาถึงการประเมินการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ แม้ในพื้นที่ที่มีการชะล้าง

               พังทลายในระดับน้อยถึงปานกลาง ก็ไม่ควรเพิกเฉยต่อการใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า และหากมีการ
               ละเลยหรือมีการจัดการที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงขึ้น ก่อให้เกิด

               ปัญหาการสูญเสียดิน ปริมาณและคุณภาพผลผลิต และส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต การจัดการดิน น้ า

               ปุ๋ย จนส่งผลให้เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย




                       จากการศึกษาข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการชะล้าง
               พังทลายของดิน พบว่าเกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดการชะล้าง

               พังทลายของดินในแต่ละวิธีการมากน้อยแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาความต้องการ วิธีการรักษาและป้องกัน

               การชะล้างพังทลายของดิน จะเห็นว่าเกษตรกรมีความต้องการ ท าบ่อดักตะกอนดิน ร่องน้ า ฝายกั้นน้ า
               เมื่อพิจารณาผลกระทบด้านต้นทุนการผลิต ผลผลิต และผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดของการปลูกพืช

               ในพื้นที่ที่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินต่างกัน จะเห็นว่าต้นทุนการผลิตของแต่ละพืช  มีแนวโน้ม

               สูงขึ้นตามระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ปลูกมันส าปะหลัง
               ซึ่งต้นทุนเพิ่มขึ้นอาจเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงต้นทุนผันแปรในการผลิต เช่น ค่าจ้างแรงงาน ค่าเมล็ด

               พันธุ์ ค่าปุ๋ย นอกจากนี้ยังพบว่าผลผลิตของทุกพืชลดลงตามความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน





                   ในการคัดเลือกพื้นที่เพื่อด าเนินการ โดยอาศัยปัจจัยหลักและเกณฑ์ที่ก าหนด ส าหรับพิจารณา

               จัดล าดับความส าคัญมี 6 ด้าน ประกอบด้วย (1) ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน
               (2) สภาพปัญหาของทรัพยากรดิน (3) การใช้ที่ดิน (4) กิจกรรมที่ด าเนินงานในพื้นที่ (5) แผนปฏิบัติงาน

               ของพื้นที่ (6) ความต้องการของชุมชน พบว่า บ้านบุ บ้านสระตอง บ้านสายออ บ้านกุดจิก ต าบลสายออ
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11