Page 4 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยท่าแค จังหวัดนครราชสีมา
P. 4
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
การจัดท าแผนการบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม ด้วย
ระบบอนุรักษ์ดินและน้ า มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) :
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความสอดคล้องของ
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ: แผนแม่บทการบริหารจัดการน้ าทั้งระบบ และสอดคล้องของ
ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ าของประเทศ (พ.ศ. 2558 - 2569): ยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ฟื้นฟู
สภาพป่าต้นน้ าที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน กลยุทธ์: การอนุรักษ์ ฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม
ในพื้นที่ดินเสื่อมโทรมและชะล้างพังทลายของดิน โดยมีเป้าหมายส าคัญสูงสุด คือ พื้นที่เกษตรกรรมได้รับ
การอนุรักษ์และฟื้นฟูให้สามารถใช้ที่ดินได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่ ไม่น้อยกว่า
20 ล้านไร่ ภายใน 20 ปี
คณะท างานจัดท าแผนการบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟู พื้นที่
เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ า พื้นที่ลุ่มน้ าห้วยท่าแค จังหวัดนครราชสีมา ได้ด าเนินการศึกษา
วิเคราะห์ และประเมินสถานภาพทรัพยากรดินเชิงระบบส าหรับแก้ปัญหาด้านการชะล้างพังทลายของดิน
และฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและความต้องการของชุมชน และการรับฟัง
ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ท าให้ได้
ต้นแบบแผนการบริหารจัดการโครงการที่กรมพัฒนาที่ดินสามารถน าไปใช้ในการขับเคลื่อนการด าเนินงาน
ด้านการอนุรักษ์ดินและน้ าให้บรรลุ เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ และแผนบริหาร
จัดการน้ าของประเทศ
การก าหนดกรอบแนวคิดจากหลักการ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา โดยการน าฐานข้อมูลด้านทรัพยากรดิน
ประกอบด้วย ดินปัญหาและการชะล้างพังทลายของดิน เป็นตัวก าหนดพื้นที่เป้าหมาย จากสภาพปัญหา
ส าหรับน าไปใช้ในการบริหารจัดการ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และเน้นกระบวนการ
มีส่วนร่วมของชุมชน บูรณาการข้อมูลเชิงสหวิชาการเพื่อใช้ในการพัฒนาและวางแผนการใช้ที่ดิน ก าหนด
มาตรการด้านการอนุรักษ์ดินและน้ าให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่ และความต้องการของชุมชน
เพื่อให้ได้เขตอนุรักษ์ดินและน้ าที่มีการบริหารจัดการเชิงระบบ เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์พื้นที่
การเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมตามศักยภาพของที่ดิน โดยสามารถสรุปผลการจัดท าแผน
บริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและ ฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม ด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ า
ดังนี้