Page 90 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองแอ่ง อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด
P. 90

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          62



                            จากผลการสัมภาษณ์เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ดิน

               และน้ าในพื้นที่ลุ่มน้ าคลองแอ่ง โดยมุ่งเน้นข้อมูลเกี่ยวกับ 1) ความรู้ ความเข้าใจ การชะล้างพังทลายของ
               ดิน 2) ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผลผลิต 3) แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน และ

               ทัศนคติต่อการป้องกันสภาพปัญหา (ตารางที่ 3-13)

                           4.1) ความรู้ ความเข้าใจ การชะล้างพังทลายของดิน เกษตรกรให้ข้อมูลถึงการชะล้าง
               พังทลายของดินในพื้นที่เพาะปลูกพืช และที่อยู่อาศัยของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรร้อยละ 73.33 ของ

               เกษตรกรทั้งหมด พื้นที่มีสภาพหน้าดินเป็นร่องหรือร่องน้ าขนาดเล็ก ร้อยละ 33.33 มีน้ าไหลบ่าพัดพาหน้าดิน
               โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ร้อยละ 86.67 การชะล้างพังทลายของหน้าดินส่งผลให้แหล่งน้ าตื้นเขินขึ้น ท าให้มี

               ปริมาณการกักเก็บน้ าได้น้อยลง ร้อยละ 93.33 มีการใช้ปุ๋ย สารเคมี ยาฆ่าแมลงเพิ่มมากขึ้น และร้อยละ

               46.67 ในบางพื้นที่มีสภาพรอยทรุดหรือรอยแยกของหน้าดิน
                           ทั้งนี้ จะเห็นว่า เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของการชะล้างพังทลายของ

               ดินต่อความเสียหายทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยดินที่ถูกชะล้างหรือ กัดเซาะจะถูกพัดพา
               ไหลไปตกตะกอนในแหล่งน้ า ท าให้แหล่งน้ าตื้นเขิน ส่งผลให้ในฤดูฝนแม่น้ าล าคลองเก็บน้ าไว้ไม่ทันเกิดน้ า

               ท่วม และเกิดสภาวะขาดแคลนน้ าในฤดูแล้ง อีกทั้งสารเคมีและยาฆ่าแมลงที่ไหลปนไปกับตะกอนดินสู่พื้นที่

               ตอนล่าง ท าให้เกิดมลพิษสะสมในดินและน้ ามีผลเสียต่อคน พืช สัตว์บก และสัตว์น้ า
                           4.2) ผลกระทบต่อผลผลิต เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 57.50 ได้รับผลกระทบต่อปริมาณ

               ผลผลิตจากการชะล้างพังทลายของดิน ในกรณีพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรที่มีสภาพเป็นร่องน้ า การ

               สูญเสียของหน้าดินซึ่งถูกพัดพาไป หรือทรุดตัวในบางแห่ง โดยแบ่งระดับผลกระทบต่อผลผลิตออกเป็น
               3 ระดับ คือ น้อย (ลดลงไม่เกิน 20%) ปานกลาง (ลดลง 20-40%) และมาก (ลดลงมากกว่า 40%) ซึ่งมี

               สัดส่วนของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบใกล้เคียงกันร้อยละ 35.71 - 31.43 แต่มีเกษตรบางกลุ่ม (ร้อยละ
               42.50) ให้ข้อมูลสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตทางเกษตร

                           4.3) แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลาย จากสภาพปัญหาของ

               การชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่เพาะปลูกพืช และที่อยู่อาศัยของเกษตรกร จะเห็นว่า มีเกษตรกรเพียง
               ร้อยละ 37.50 ของเกษตรกรทั้งหมด มีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลาย โดยอาศัย 2 วิธี

               หลัก คือ  1) การก่ออิฐขวางทางน้ า และ 2) การปลูกพืชคลุมดิน ในขณะที่เกษตรกรมากถึงร้อยละ 62.50
               ที่ไม่ได้มีแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันหรือแก้ไขแต่อย่างใด โดยให้เหตุผลว่า ส่วนใหญ่ขาดองค์

               ความรู้ และยังขาดการสนับสนุนงบประมาณ ขาดแรงงาน เพื่อด าเนินการดังกล่าว อีกทั้งไม่มีเวลาในการ

               ด าเนินการ นอกจากนี้ หากมีช่องทางในการป้องกันหรือแก้ไขโดยอาศัยหน่วยงานรัฐเข้ามาจัดการแก้ไขให้ ซึ่ง
               เกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70.00) ไม่ต้องการให้เข้ามาด าเนินการแก้ไข และมีเพียงบางส่วนที่ต้องการให้

               เข้ามาด าเนินการแก้ไข
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95