Page 87 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองแอ่ง อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด
P. 87

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             59



                            3) พืชเศรษฐกิจที่ส าคัญ

                              จากผลการศึกษาสถานการณ์พืชเศรษฐกิจที่ส าคัญในพื้นที่ลุ่มน้ าคลองแอ่ง อ าเภอบ่อไร่

                   จังหวัดตราด ปีการผลิต 2563 ได้แก่ เงาะ ยางพารา และไม้ผลผสม โดยพิจารณาการปลูกพืชตามระดับ

                   ของความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน 5 ระดับ คือ การสูญเสียดินน้อย มีค่า (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี)
                   การสูญเสียดินปานกลาง มีค่า (2-5 ตันต่อไร่ต่อปี) การสูญเสียดินรุนแรง มีค่า (5-15 ตันต่อไร่ต่อปี) การ

                   สูญเสียดินรุนแรงมก มีค่า (15-20 ตันต่อไร่ต่อปี) และการสูญเสียรุนแรงมากที่สุดมีค่า (มากกว่า 20 ตันต่อ

                   ไร่ต่อปี) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (ตารางที่ 3-12 )
                              3.1) เงาะ ปลูกในพื้นที่ดินที่มีการชะล้างพังทลายของดิน 4 ระดับ คือ ระดับปานกลาง

                   ระดับรุนแรง ระดับรุนแรงมาก และระดับรุนแรงมากที่สุด พันธุ์ที่ใช้ปลูก คือ พันธุ์สีทอง และ พันธุ์โรงเรียน
                              พื้นที่ดินที่มีการชะล้างพังทลายของดินระดับปานกลาง ผลผลิตเฉลี่ย 1,515 กิโลกรัมต่อไร่

                   ต้นทุนทั้งหมด 5,830.38 บาทต่อไร่ เมื่อพิจารณาต้นทุนและผลตอบแทน พบว่า มีผลตอบแทนเหนือ
                   ต้นทุนทั้งหมด 21,000.27 บาทต่อไร่ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนทั้งหมด 4.60

                              พื้นที่ดินที่มี การชะล้างพังทลายของดินระดับรุนแรง ผลผลิตเฉลี่ย 1,440 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุน

                   ทั้งหมด 6,925.41 บาทต่อไร่ เมื่อพิจารณาต้นทุนและผลตอบแทน พบว่า มีผลตอบแทนเหนือต้นทุน
                   ทั้งหมด 18,576.99บาทต่อไร่ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนทั้งหมด 3.70


                              พื้นที่ดินที่มี การชะล้างพังทลายของดินระดับรุนแรงมาก ผลผลิตเฉลี่ย 1,349.09 กิโลกรัมต่อไร่
                   ต้นทุนทั้งหมด 7,464.70 บาทต่อไร่ เมื่อพิจารณาต้นทุนและผลตอบแทน พบว่า มีผลตอบแทนเหนือ

                   ต้นทุนทั้งหมด 16,427.68 บาทต่อไร่ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนทั้งหมด 3.22

                              พื้นที่ดินที่มี การชะล้างพังทลายของดินระดับรุนแรงมากที่สุด ผลผลิตเฉลี่ย 1,241.41 กิโลกรัม
                   ต่อไร่ ต้นทุนทั้งหมด 8,693.95 บาทต่อไร่ เมื่อพิจารณาต้นทุนและผลตอบแทน พบว่า มีผลตอบแทนเหนือ

                   ต้นทุนทั้งหมด 13,291.42 บาทต่อไร่ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนทั้งหมด 2.54 พื้นที่ดินที่มี

                              เมื่อพิจารณาในภาพรวมของผลผลิต ต้นทุน และผลตอบแทนของการผลิตเงาะ ในพื้นที่ดิน
                   แต่ละระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน พบว่า ต้นทุนการผลิตมีแนวโน้ม ที่เพิ่มขึ้นตาม

                   ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินที่เพิ่มขึ้น ปริมาณผลผลิตมีแนวโน้มลดลงเมื่อระดับความ
                   รุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดมีแนวโน้มลดลงเมื่อ

                   ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินเพิ่มสูงขึ้น

                              3.2) ยางพารา ปลูกในพื้นที่ดินที่มีการชะล้างพังทลายของดิน 4 ระดับ คือ ระดับปานกลาง
                   ระดับรุนแรง และระดับรุนแรงมากที่สุด พันธุ์ที่ใช้ปลูก คือ RRIM 600

                              พื้นที่ดินที่มีการชะล้างพังทลายของดินระดับปานกลาง ผลผลิตเฉลี่ย 593.45 กิโลกรัมต่อไร่
                   ต้นทุนทั้งหมด 9,673.69 บาทต่อไร่ เมื่อพิจารณาต้นทุนและผลตอบแทน พบว่า มีผลตอบแทนเหนือ

                   ต้นทุนทั้งหมด 9,298.91 บาทต่อไร่ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนทั้งหมด 1.96
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92