Page 34 - โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำ : บริบทแห่งการพัฒนาพื้นที่สูงที่ยั่งยืน
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
6-2
จากการประเมินพบว่าบนพื้นที่ราบ ซึ่งประกอบด้วยที่ราบล าน้ า ที่ลาดเชิงเขา และเนินเขาที่มีความ
ลาดชันน้อยกว่า 35% มีการชะล้างพังทลายของดินปานกลาง 29.08 ล้านไร่ รุนแรง 12.71 ไร่ รุนแรงมาก
0.90 ล้านไร่ และรุนแรงมากที่สุด 2.36 ล้านไร่ รวมเป็นเนื้อที่ 45.05 ล้านไร่
ส่วนพื้นที่สูงซึ่งประกอบด้วย พื้นที่ภูเขาและที่ลาดหุบเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35% มีการชะล้าง
พังทลายของดินปานกลาง 16.96 ล้านไร่ รุนแรง 5.97 ล้านไร่ รุนแรงมาก 2.27 ล้านไร่ และรุนแรงมากที่สุด
7.89 ล้านไร่ รวมเป็นเนื้อที่ 33.09 ล้านไร่
เมื่อรวมพื้นที่ที่มีการชะล้างพังทลายของดินระดับปานกลางถึงรุนแรงมาก ทั้งในพื้นที่ราบและพื้นที่
สูงจะมีเนื้อที่รวม 78.14 ล้านไร่ ดังรายละเอียดในตารางที่ 6-1
ตารางที่ 6-1 การสูญเสียดินในประเทศไทย
การสูญเสียดิน เนื้อที่ (ไร่) ร้อยละ
ชั้น 1 การสูญเสียดินน้อย (0-2 ตัน/ไร่/ปี) 172,808,023 53.89
ชั้น 2 การสูญเสียดินปานกลาง (2-5 ตัน/ไร่/ปี) 29,087,277 9.07
ชั้น 3 การสูญเสียดินรุนแรง (5-15 ตัน/ไร่/ปี) 12,717,861 3.97
ชั้น 4 การสูญเสียดินรุนแรงมาก (15-20 ตัน/ไร่/ปี) 905,762 0.28
ชั้น 5 การสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด (>20 ตัน/ไร่/ปี) 2,364,255 0.74
รวมพื้นที่ราบ 217,883,178 67.94
ชั้น 1H การสูญเสียดินน้อย (0-2 ตัน/ไร่/ปี) 69,714,454 21.74
ชั้น 2H การสูญเสียดินปานกลาง (2-5 ตัน/ไร่/ปี) 16,960,320 5.29
ชั้น 3H การสูญเสียดินรุนแรง (5-15 ตัน/ไร่/ปี) 5,971,581 1.86
ชั้น 4H การสูญเสียดินรุนแรงมาก (15-20 ตัน/ไร่/ปี) 2,277,182 0.71
ชั้น 5H การสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด (>20 ตัน/ไร่/ปี) 7,890,278 2.46
รวมพื้นที่สูง 102,813,715 32.06
รวมพื้นที่ทั้งประเทศ 320,696,893 100.00
หมายเหตุ : พื้นที่ราบ (ที่ราบล าน้ า ที่ลาดเชิงเขา และเนินเขา ความลาดชันน้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์)
พื้นที่สูง (ภูเขาสูงและลาดหุบเขา พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์)
ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน (2563: 73)
6.1.3 ผลกระทบจากการชะล้างพังทลายของดิน
การชะล้างพังทลายของดินนอกจากจะเป็นสาเหตุที่ส าคัญของความเสื่อมโทรมของดินแล้ว
ยังมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีผลกระทบต่อเกษตรกร ชุมชน และประชาชน
โดยรวม ดังนี้
(1) หน้าดินเดิมที่สูญเสียไปนั้น มีอินทรียวัตถุในดินรวมอยู่ด้วย อินทรียวัตถุดังกล่าว
มีคุณสมบัติช่วยซับน้ าฝนและช่วยให้น้ าซึมลงสู่ดินชั้นล่างหรือลงสู่ชั้นน้ าใต้ดิน เมื่อขาดอินทรียวัตถุที่ช่วยซึม
ซับน้ าฝนไว้จึงท าให้น้ าไหลผ่านลงสู่พื้นที่ตอนล่างอย่างรวดเร็วเกิดเป็นภาวะน้ าท่วม สร้างความเสียหายต่อ
ทรัพย์สินต่างๆ นอกจากนี้ ในพื้นที่ที่หน้าดินถูกชะล้างไปจะขาดความชื้นของดินในฤดูแล้งท าให้เกิดความ
แห้งแล้งโดยทั่วไป
(2) หน้าดินที่ถูกชะล้างจะถูกพัดพาไปเป็นตะกอนดินในพื้นที่ตอนล่างทับถมตามแหล่งน้ าต่างๆ
ท าให้เกิดการตื้นเขินของทางน้ า และอ่างเก็บน้ า ท าให้ไม่สามารถเก็บกักน้ าได้ตามศักยภาพและไม่เหมาะต่อ
การอุปโภค บริโภค