Page 33 - โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำ : บริบทแห่งการพัฒนาพื้นที่สูงที่ยั่งยืน
P. 33
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
6-1
บทที่ 6
การชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย
6.1 การชะล้างพังทลายของดิน
พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 มาตรา 4 ได้ให้ความหมายของการชะล้างพังทลายของดินไว้ว่า
“การชะล้างพังทลายของดิน” หมายความว่า ปรากฏการณ์ซึ่งที่ดินถูกชะล้างกัดเซาะพังทลายด้วย
พลังงานที่เกิดจากน้้า ลม หรือ โดยเหตุอื่นใดให้เกิดการเสื่อมโทรม สูญเสียเนื้อดิน หรือความอุดมสมบูรณ์ของดิน”
การทบทวนในหัวข้อนี้มี 6 เรื่อง คือ (1) ปัจจัยส าคัญที่ท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน
(2) การสูญเสียดิน (3) ผลกระทบจากการชะล้างพังทลายของดิน (4) มูลค่าการสูญเสียหน้าดิน (5) ปริมาณ
การสูญเสียธาตุอาหารหลักจากการชะล้างพังทลายของดิน (6) มูลค่าการสูญเสียธาตุอาหารหลักจากการชะ
ล้างพังทลายของดิน โดยมีรายละเอียดดังนี้
6.1.1 ปัจจัยส าคัญที่ท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน
ปัจจัยที่ส าคัญได้แก่
(1) ความรุนแรงของฝนที่ตกกระทบและการกัดเซาะของฝนในปีหนึ่งๆ แรงน้ าที่ไหลบ่าจะ
กัดเซาะและพัดพาหน้าดินซึ่งมีธาตุอาหารและปุ๋ยสูญเสียไป
(2) ความยากง่ายต่อการพังทลายของดิน ขึ้นกับคุณลักษณะของดิน ได้แก่ เนื้อดิน โครงสร้างดิน
ความสามารถในการให้น้ าซึมผ่าน และปริมาณของอินทรียวัตถุในดิน ซึ่งมีความแตกต่างในแต่ละพื้นที่
(3) สภาพภูมิประเทศ ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่และความยาวของพื้นที่ มีผลต่อการ
ชะล้างพังทลายของดินแตกต่างกัน โดยพื้นที่ที่มีความลาดชันมากจะง่ายต่อการชะล้างพังทลายของดิน
(4) การใช้ประโยชน์ของที่ดินในการท ากิจกรรมต่างๆ อย่างไม่เหมาะสม ท าให้พื้นที่ดินขาด
หรือลดปริมาณสิ่งปกคลุมดิน เช่น การท าไร่เลื่อนลอยบนพื้นที่สูง การบุกรุกท าลายป่า การปรับพื้นที่ การตัด
ถนนและเส้นทางคมนาคม เป็นต้น
(5) การใช้ที่ดินโดยมีหรือไม่มีการอนุรักษ์ดินและน้ าถ้ามีมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ า
จะช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน เช่น การท าเกษตรตามแนวระดับ การควบคุมการปลูกพืช การท าคันดิน
การปลูกหญ้าแฝก เป็นต้น
6.1.2 การสูญเสียดิน
ในปี 2563 กรมพัฒนาที่ดิน ได้มีการประเมินการสูญเสียของดินจากการชะล้างพังทลายของดินใน
ประเทศไทยโดยใช้สมการสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation: USLE) และระบบสารสนเทศ
ทางภูมิศาสตร์มาช่วยในการประเมิน (กรมพัฒนาที่ดิน 2563: 73) โดยมีการจัดชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดิน
ดังนี้
น้อย คือ 0.00-2.00 ตัน/ไร่/ปี
ปานกลาง คือ 2.00-5.00 ตัน/ไร่/ปี
รุนแรง คือ 5.00-15.00 ตัน/ไร่/ปี
รุนแรงมาก คือ 15.00-20.00 ตัน/ไร่/ปี
รุนแรงมากที่สุด คือ มากกว่า 20.00 ตัน/ไร่/ปี