Page 28 - โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำ : บริบทแห่งการพัฒนาพื้นที่สูงที่ยั่งยืน
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5-1
บทที่ 5
ภูมินิเวศของพื้นที่สูงในประเทศไทย
5.1 ความหมายและขอบเขตของพื้นที่
เนื่องจากพื้นที่สูงที่สถาบันและส่วนราชการได้ก าหนดไว้นั้นมีความแตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
5.1.1 ภูเขา
ราชบัณฑิตสถาน (2542: 825) ได้ให้ความหมายของภูเขาไว้ว่าเป็น “พื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้นจากบริเวณรอบๆ
ตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไป” และคณะอนุกรรมการจัดท าพจนานุกรมธรณีวิทยา (2530: 78) ได้ให้ความหมาย
เพิ่มเติมจากราชบัณฑิตสถานเป็นภูเขาคือ “พื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้นจากบริเวณรอบๆ ตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไป
และมีความลาดชันสูง”
5.1.2 พื้นที่สูง
พื้นที่สูงที่ก าหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
1)
พ.ศ. 2548 คือ “พื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือพื้นที่ที่มีความสูงกว่าระดับน้้าทะเล 500 เมตรขึ้นไป หรือพื้นที่ที่อยู่
ระหว่างพื้นที่ตามที่คณะกรรมการก้าหนด” ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (2559: 17) ได้ระบุไว้ใน
ยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564) หน้า 17 ว่า
“พื้นที่สูงในประเทศไทยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 67.22 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 53 ของพื้นที่ 20 จังหวัด ได้แก่
เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ล้าพูน แพร่ น่าน ล้าปาง ตาก เพชรบูรณ์ พิษณุโลก เลย สุโขทัย
ก้าแพงเพชร กาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี”
5.1.3 พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน
คณะกรรมการจัดท าปทานุกรมปฐพีวิทยา (2541: 102) ได้ให้ความหมายพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อนไว้ว่า
เป็น “พื้นที่ที่ประกอบด้วยเขาและภูเขาที่ลาดชันสูง และเป็นดินตื้นที่มีหินโผล่เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะของดินมี
มากมายหลายชนิดขึ้นอยู่กับชนิดของหินและสภาพความลาดชัน” ซึ่งกรมพัฒนาที่ดิน (2562: 1-2 ) ได้ใช้ความ
ลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน (Slope complex)
จากค าจ ากัดความของสถาบันและหน่วยงานต่างๆ มีความแตกต่างกัน ท าให้มีเนื้อที่ของพื้นที่สูง
แตกต่างกัน
จากการวิเคราะห์พื้นที่โดยการทับซ้อนโดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographical Information
System: GIS) พบว่าพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน (Slope complex) ที่ก าหนดโดยคณะอนุกรรมการจัดท า
พจนานุกรมปฐพีวิทยาและกรมพัฒนาที่ดินที่ใช้ความลาดชันเกิน 35 เป็นเกณฑ์ในการก าหนดความลาดชัน
เชิงซ้อนนั้น ได้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีความสูงกว่าระดับน้ าทะเล 500 เมตร และ 600 เมตร ขึ้นไปทั้งหมด
จังหวัดที่มีพื้นที่ลาดเชิงซ้อนมากที่สุด คือจังหวัดนครราชสีมา จ านวน 12,808,728 ไร่ รองลงมาคือ
จังหวัดเชียงใหม่ จ านวน 12,566,911 ไร่ ดังรายละเอียดในตารางที่ 5-1
---------------------------------------------
1)
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 59ก ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2548