Page 55 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 55

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        45




                                     2.3.2.2 กำรประเมินค่ำปัจจัยควำมคงทนต่อกำรถูกชะล้ำงพังทลำยของดิน


                                          ปัจจัยความคงทนต่อการชะล้างพังทลายของดิน (soil erodibility factor , K - factor)
                   Wischmeier and Smith (1978) อธิบายว่า ปริมาณการสูญเสียดินจะมากหรือน้อยเพียงไร อาจขึ้นอยู่กับความ
                   ลาดชันของพื้นที่ ความรุนแรงของฝน ปริมาณการปกคลุมดินของพืช และมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่
                   มากกว่าสมบัติของดินเอง แต่ในความเป็นจริงมักพบเสมอว่า ภายใต้สภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกันดินชนิดหนึ่งถูก
                   ชะล้างพังทลายง่ายกว่าดินอีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากสมบัติเฉพาะตัวของดินที่เรียกว่า ความคงทนต่อการถูกชะล้าง
                   พังทลายของดิน (soil erodibility) การวัดค่าความคงทนของดิน หรือ K-factor ออกมาเป็นตัวเลขเพื่อใช้ใน
                   สมการการสูญเสียดินสากลนั้น  ได้จากการศึกษาเฉพาะดินชนิดหนึ่งๆ ในแปลงทดลองขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า
                   6 ฟุต ยาว 72.6 ฟุต บนความลาดเท 9 เปอร์เซ็นต์ ในสภาพที่มีการไถพรวนขึ้นลงตามความลาดชัน และปล่อย

                   ดินไว้ว่างเปล่าตลอดเวลาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ลักษณะของแปลงทดลองเช่นนี้ ค่าของปัจจัย L, S, C และ P
                   ต่างมีค่าเท่ากับ 1 และค่า  K จะค านวณได้จาก

                                       K =       A/EI                                                  (2.4)

                                เมื่อ  K  คือ ค่าปัจจัยความคงทนต่อการถูกชะล้างพังทลายของดิน
                                     A  คือ ตัวเลขปริมาณการสูญเสียดินที่ตรวจวัดได้จากแปลงทดลอง

                                     EI  คือ ค่าตัวเลขปัจจัยการชะล้างพังทลายของฝน

                                       วิธีสร้ำงชั นข้อมูลปัจจัยควำมคงทนต่อกำรถูกชะล้ำงพังทลำยของดิน
                                       1) เตรียมข้อมูลพื้นฐาน โดยใช้แผนที่ชุดดิน ปี พ.ศ. 2561 ซึ่งอยู่ในรูปแบบ GIS มาตรา
                   ส่วน 1:25,000 จากกองส ารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน

                                           2) การก าหนดค่าปัจจัย K  โดยใช้แผนภาพ nomograph ของ Wischmeier et al.
                   (1971) (ภาพที่ 2.4) เพื่อช่วยให้การประเมินค่า K กระท าได้ง่ายและสะดวกขึ้น Nomograph เป็นภาพแสดง
                   ความสัมพันธ์ระหว่างค่าปัจจัย K โดยอาศัยผลการศึกษาจากแปลงทดลองจ านวนมากกว่า 10,000 แปลงต่อปี
                   เป็นระยะเวลานานกว่า 30 ปี กับสมบัติดิน 5 ประการ ประกอบด้วย (1) ผลรวมปริมาณอนุภาคดินทรายแป้ง
                   (silt, %) และอนุภาคทรายขนาดละเอียดมาก (silt+very fine sand, %) (2) อนุภาคขนาดทราย (sand, %)
                   (3) อินทรียวัตถุในดิน (soil organic matter, %) (4) โครงสร้างของดิน (soil structure) และ(5) การซาบซึมน้ า
                   ของดิน (permeability)
                                       กรมพัฒนาที่ดิน (2526) ได้มีการศึกษาค่าปัจจัย K ของดินในประเทศไทยจากแผนภาพ

                   nomograph โดยอาศัยข้อมูลสมบัติ 5 ประการ ของตัวแทนชุดดิน (soil series) ที่มีการเก็บตัวอย่างดินมา
                   วิเคราะห์หาคุณสมบัติในห้องปฏิบัติการ ผลจากการศึกษาแนะน าให้ใช้ค่าตามตารางที่ 2.1 ส าหรับประเมินค่าปัจจัย K
                   อย่างง่าย โดยพิจารณาจากเนื้อดินบน สภาพพื้นที่ก าเนิดดิน และภูมิภาคที่พบ
                                       3) ประเมินค่า K โดยยึดถือค่าปัจจัยความคงทนต่อการถูกชะล้างพังทลายของดิน
                   (K - factor) ของกรมพัฒนาที่ดิน (2526) ท าการประเมินโดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่ราบ และพื้นที่สูง
                   ซึ่งพื้นที่แต่ละส่วนมีรายละเอียดของข้อมูลที่ได้จากการส ารวจดินแตกต่างกัน คือ
                                              (3.1) พื้นที่ราบ มีความหมายรวมถึง ที่ราบล าน้ า ที่ลาดเชิงเขา และเนินเขา มีความ
                   ลาดชันไม่เกิน 35 เปอร์เซ็นต์  พื้นที่ส่วนนี้ประเมินค่า K ของชุดดินโดยใช้แผนที่ชุดดินระดับจังหวัด มาตราส่วน
                   1 : 25,000 ของกรมพัฒนาที่ดิน เป็นข้อมูลฐานในการก าหนดจ าแนกค่า K ของพื้นที่ เมื่อทราบจังหวัด และ

                   ชนิดของชุดดิน ลักษณะเนื้อดินบน และสภาพพื้นที่ สามารถอ่านค่า K จากตารางที่ 2.1 ได้
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60