Page 52 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 52

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                     42







                                  รวบรวมและจัดเตรียมข้อมูลที่ใช้ในการประเมินการชะล้างพังทลายของดินที่อยู่ในรูปแบบ
               ดิจิทัลและตารางอรรถาธิบายในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (geographic information system; GIS)



                                  ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับสมการการสูญเสียดินสากล (universal soil loss
               equation ; USLE) ของ Wischmeier and Smith (1978) เพื่อประเมินอัตราการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่
               ศึกษา โดยน าเข้าข้อมูลต่าง ๆ เพื่อหาค่าปัจจัยพื้นฐานของสมการและแสดงผลในรูปแบบแผนที่ระดับความรุนแรง
               การชะล้างพังทลายของดิน
                                   2.3.2.1 กำรประเมินค่ำปัจจัยกำรชะล้ำงพังทลำยของฝน
                                            ฝนเป็นปัจจัยส าคัญที่ท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ใน

               เขตมรสุม จะมีการกระจายของฝนไม่สม่ าเสมอ ท าให้ความรุนแรงของฝนที่ตกลงมาในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ
               มีความแตกต่างกัน ส่งผลให้ดินเกิดการชะล้างพังทลายมากน้อยต่างกันไปด้วย
                                            ค่าปัจจัยการชะล้างพังทลายของฝน (rainfall erosivity factor, R - factor) เป็นค่า
               ความสัมพันธ์ของพลังงานจลน์ของเม็ดฝนที่ตกกระทบผิวหน้าดินกับปริมาณความหนาแน่นของฝน (rainfall
               Intensity) ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่ง Wischmeier และ Smith ได้สร้างเป็นสมการทางคณิตศาสตร์ขึ้นมา
               ในปี ค.ศ. 1958 (Takagi, 1994) คือ


                                         E  =      916 + 331 log 10 I                              (2.1)

                              เมื่อ      E  คือ พลังงานจลน์ของฝนต่อหนึ่งหน่วย (ฟุตตันต่อเอเคอร์ต่อนิ้ว)
                                         I   คือ ความหนาแน่นของฝน  (นิ้วต่อชั่วโมง)
                              เนื่องจาก  หน่วยวัดของสมการมีใช้กันหลายรูปแบบ จึงท าให้สมการแตกต่างกันไป เช่น


                                         E  = 11.9 + 8.73 log 10 I                                 (2.2)

                              เมื่อ      E  คือ พลังงานจลน์ของฝนต่อหนึ่งหน่วย (จูลน์ต่อตารางเมตรต่อมิลลิเมตร)
                                         I   คือ ความหนาแน่นของฝน (มิลลิเมตรต่อชั่วโมง)

                                   สมการหาค่าพลังงานจลน์นี้จะใช้ได้ดี  เมื่อความหนาแน่นของฝนมีค่าน้อยกว่า 7.6
               เซนติเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากขนาดของเมล็ดฝนจะไม่ใหญ่ขึ้นอีก  เมื่อความหนาแน่นของฝนมากกว่าหรือเท่ากับ
               7.6 เซนติเมตรต่อชั่วโมง และในปี ค.ศ.1959 Wischmeier  พบว่า  ปริมาณตะกอนดินที่ถูกชะล้างจากแปลง

               ทดลองว่างเปล่า (ไม่ปลูกพืช) มีความสัมพันธ์สูงมากกับค่าสะสมของพลังงานจลน์ฝนสูงสุด คือ ช่วงความหนาแน่น
               ของฝนที่เวลา 30 นาที จึงเรียกพลังงานจลน์ของฝนว่า EI 30 และน ามาสร้างเป็นสมการหาค่า R - factor และ
               ก าหนดเป็นปัจจัยหนึ่งของสมการสูญเสียดินสากล (USLE)  อย่างไรก็ดี ยังมีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้คิดค่า
               พลังงานจลน์ของฝนออกไปเป็นช่วงเวลาต่างๆ ที่มากกว่า 30 นาที เช่น KE > 1 ของ Hudson จึงท าให้รูปแบบ
               ของสมการหาค่า R - factor เปลี่ยนตามไปด้วย (Takagi, 1994)
                                         ส าหรับประเทศไทยอ้างตาม กรมพัฒนาที่ดิน (2545) ได้สร้างสมการเพื่อใช้
               ประเมินค่า R - factor นี้ขึ้นมาหลายสมการ ทั้งจากค่า EI 30  และ KE > 1 ส าหรับการจัดท าแผนที่ในครั้งนี้หามา

               จากค่า EI 30 เนื่องจากเป็นค่าที่เหมาะสมกับปริมาณฝนของประเทศไทยในปัจจุบัน คือ
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57