Page 53 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 53

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        43




                                            R  =  0.4996X – 12.1415                                    (2.3)

                                 เมื่อ      R  คือ ค่าปัจจัยการชะล้างพังทลายของฝน (เมตริกตันต่อเฮกแตร์ต่อปี)

                                            X  คือ ค่าปริมาณฝนเฉลี่ยรายปี (มิลลิเมตรต่อปี)

                                 การสร้างชั้นข้อมูลค่า  R - factor เพื่อใช้ในสมการสูญเสียดินสากล (USLE) นั้น Renard et al.
                   (1997) เสนอแนะ แนวทางการประเมินค่าปัจจัยการชะล้างพังทลายของฝน ณ จุดใด จุดหนึ่งจากแผนที่ศักย์
                   พลังงานฝน (isoerodent map)  โดยวิธีการประมาณค่าแบบเชิงเส้น  (linear Interpolation) ซึ่งเป็น
                   การใช้วิธีทางสถิติเข้ามาช่วยก าหนดการกระจายค่าปริมาณฝนจากเส้นศักย์พลังงานฝนเท่า (isoerodent)
                   ทุกๆ เส้นลงบนจุดพิกเซลของแผนที่ศักย์พลังงานฝน นั้น

                          วิธีสร้างชั้นข้อมูลปัจจัยการชะล้างพังทลายของฝน มีขั้นตอนดังนี้
                          1) การรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น
                             ท าการรวบรวมข้อมูลปริมาณฝนในแต่ละสถานีย้อนหลัง 30 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 - 2562
                   จากกรมอุตุนิยมวิทยา จ านวน 82 สถานีใน 52 จังหวัด หาค่าเฉลี่ยเป็นปริมาณฝนรายปี (ตารางภาคผนวกที่ 1)
                          2) การสร้างตารางข้อมูลฝน
                                  สร้างตารางเพื่อใช้บันทึกข้อมูลฝนด้วยโปรแกรม Excel ประกอบด้วย 5 สดมถ์ (Column) คือ
                              สดมถ์ 1  Station_id     บันทึกข้อมูลล าดับสถานี

                              สดมถ์ 2  NAME_sta       บันทึกข้อมูลชื่อสถานีที่เก็บบันทึกข้อมูล (Station Name)
                              สดมถ์ 3  ST_LAT         บันทึกข้อมูลค่าเส้นรุ้ง (Latitude) ของแต่ละสถานี
                              สดมถ์ 4  ST_LONG        บันทึกค่าเส้นแวง (Longitude)
                              สดมถ์ 5  ANN            บันทึกข้อมูลค่าปริมาณฝนรายปีของแต่ละสถานี
                          3) สร้างภาพเส้นชั้นน้ าฝน ดังนี้
                                  (1) น าเข้าข้อมูลตารางปริมาณฝนเฉลี่ยรายปี ลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ArcGIS
                                    (2) ประมวลผลด้วยโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ArcGIS) ด้วยวิธี (inverse distance weighted,
                   IDW) ซึ่งเป็นการประมาณค่าข้อมูลเชิงพื้นที่โดยอาศัยหลักการต าแหน่งใกล้เคียงกันย่อมมีความสัมพันธ์กัน
                   การประมาณค่าให้กับต าแหน่งที่ไม่ทราบค่าจากผลรวมเชิงเส้นของค่าที่ทราบ  จากนั้นถ่วงน้ าหนักจุด และจ ากัด
                   ด้วยระยะทางจากจุดที่ไม่ทราบค่าไปยังจุดที่ทราบค่าจุดต่อไป ซึ่งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าจุดที่ยังไม่ทราบค่านั้น

                   ควรมีอิทธิพลจากจุดตัวอย่างที่อยู่ใกล้มากกว่าจุดตัวอย่างที่อยู่ไกล โดยระดับของอิทธิพลแปรผกผันกับระยะทาง
                   ระหว่างจุดซึ่งเพิ่มขึ้นตามค่ายกก าลัง การเลือกค่ายกก าลัง  จะส่งผลอย่างมีนัยส าคัญต่อการประมาณค่า ต าแหน่ง
                   ที่อยู่ใกล้ที่สุดจะมีอิทธิพลมาก ซึ่งการเลือกจ านวนจุดที่ล้อมรอบมากจะส่งผลท าให้พื้นผิวมีความราบเรียบน้อยลง
                   โดยการประมวลผลใช้ขนาดของจุดพิกเซลของภาพเท่ากับ 30 x 30 เมตร
                                   (3) ลดความคลาดเคลื่อน (Noise) ของข้อมูล ด้วยวิธี Smoothing เพื่อให้ได้ค่าปริมาณฝน ที่มีความ
                   ต่อเนื่องในทุกจุดพิกเซลของภาพ
                               4) สร้างภาพชั้นข้อมูลปัจจัยการชะล้างพังทลายของฝน

                               ใช้ค าสั่ง Raster Calculator แทนค่า X ด้วยค่าปริมาณน้ าฝนในสมการ (2.3)  โดยแสดงผลแผนที่
                   ตามภาพที่ 2.3
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58