Page 145 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 145

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       135





                          รูปแบบการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาด้านอนุรักษ์ดินและน้ า มี 3 ประเภท โดยมีรายละเอียด ดังนี้


                          1) การวิจัยโดยใช้แปลงทดลองการสูญเสียดินและน้ า (runoff and soil erosion plots)
                             การศึกษาปริมาณการสูญเสียดินและน้ า ปริมาณธาตุอาหารพืชในดินที่สูญเสียไปกับน้ าไหลบ่าหรือ
                   ตะกอนดิน หรือปัจจัยการชะล้างพังทลายของดิน โดยใช้แปลงทดลองการสูญเสียดินและน้ าที่สอดคล้องตาม
                   ความลาดชันและสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีกรอบขั้นตอนการด าเนินงาน ดังนี้
                             (1) การคัดเลือกพื้นที่ด าเนินการวิจัย โดยประสานเจ้าหน้าที่ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต  สถานีพัฒนาที่ดิน
                   และเกษตรกรในพื้นที่ร่วมกันคัดเลือกพื้นที่ตัวแทนโดยพิจารณาถึงความลาดชัน ลักษณะและสมบัติดิน และ
                   พืชพันธุ์ที่ปกคลุมดิน และวางผังแปลงทดลองในพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินแบบต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และ
                   ด าเนินการศึกษาข้อมูลสภาพพื้นที่ในเบื้องต้น (Site characterization) เพื่อประกอบการวางแผนงานวิจัยและ

                   ถ่ายทอดสู่การพัฒนาประยุกต์ใช้งานในพื้นที่อื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงได้
                             (2) การสร้างแปลงทดลองการสูญเสียดินและน้ า เพื่อศึกษาการชะล้างพังทลายของดินใน
                   ช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการศึกษา โดยพื้นที่ทดลองควรมีสภาพความลาดเทของพื้นที่
                   อยู่ในช่วง 3-18 เปอร์เซ็นต์ ความยาวความลาดชันไม่เกิน 120 เมตร มีการปลูกและการจัดการพืชคล้ายคลึง
                   กับแปลงทดลองมาตรฐานของ Water H. Wishchmeier และ Dwight D. Smith ที่ท าการศึกษาและเก็บข้อมูล
                   มากกว่า 10,000 แปลงในสหรัฐอเมริกา มีความยาว 22.13 เมตร (72.6 ฟุต) ความกว้าง 1.83 เมตร (6 ฟุต)
                   ความลาดชัน 9 เปอร์เซ็นต์ และมีการไถพรวนดินขึ้นลงตามความลาดชันซึ่งท าให้ลดข้อผิดพลาดของตัวแทนที่ดี
                             ขนาดของแปลงทดลองการสูญเสียดินและน้ าควรอยู่ระหว่าง 2x10 เมตร ถึง 4x20 เมตร ซึ่ง
                   ไม่ควรใช้แปลงขนาดเล็กกว่าหรือใหญ่กว่านี้ เนื่องจากขนาดแปลงทดลองที่ใหญ่กว่านี้จะท าให้เกิดข้อผิดพลาด

                   จากความไม่สม่ าเสมอของลักษณะพื้นที่ได้มากขึ้น แต่ถ้ามีขนาดแปลงทดลองที่เล็กกว่านี้ก็จะท าให้ได้ตัวอย่าง
                   ที่ไม่เหมาะสมและครอบคลุมเพียงพอ
                             การสร้างรั้วล้อมรอบแปลงสามารถท าได้โดยใช้อิฐบล็อกที่มีขนาด 20x40 เซนติเมตร ฝังลึกลงไป
                   ในดิน 20 เซนติเมตร และอยู่เหนือผิวดิน 20 เซนติเมตร หรือใช้สังกะสีแผ่นเรียบสูงประมาณ 30 เซนติเมตร
                   ฝังลึกลงดิน 10 เซนติเมตร แล้วใช้เหล็กเส้นกลมหรือไม้ท่อนความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ปักลึกลงดิน 10-20
                   เซนติเมตร เป็นระยะๆ เพื่อกั้นแผ่นสังกะสีไม่ให้ล้ม
                             (3) การสร้างถังเก็บน้ าและตะกอนดิน ในการก่อสร้างถังเก็บน้ าและตะกอนดินที่ท้ายแปลงทดลอง
                   โดยสามารถติดตั้งถังซีเมนต์รูปทรงกระบอกที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร มีความสูง 1 เมตร หรือใช้

                   ถังพลาสติกขนาด 200 ลิตร เป็นถังเก็บน้ าและตะกอนดิน หรือขุดดินเป็นบ่อแล้วปูด้วยแผ่นพลาสติก และ
                   สร้างรางระบายเชื่อมจากแปลงทดลองสู่บ่อดักตะกอน
                             (4) การติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดในภาคสนาม โดยติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ าฝน (rain gauge)
                   แบบธรรมดาหรือแบบไม่บันทึก (standard rain gauge) หรือเครื่องวัดน้ าฝนแบบบันทึก (recording rain
                   gauge) หรือติดตั้งเครื่องตรวจอากาศแบบ Agro-Meteorological Station หรือใช้ข้อมูลอ้างอิงจาก
                   สถานีอุตุนิยมวิทยาที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่ด าเนินการ
                             (5) การท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าด้วยวิธีพืชและวิธีกล โดยจัดท าระบบการปลูกพืชร่วมกับ
                   การท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าวิธีพืชหรือมาตรการวิธีกลตามวัตถุประสงค์ที่ก าหนดไว้
                             (6) การเก็บรวมรวมข้อมูล และตัวอย่าง ดังนี้

                                - เก็บตัวอย่างดินแบบไม่รบกวนโครงสร้างดิน และแบบรบกวนโครงสร้างดิน ทั้งก่อนทดลองและ
                   หลังการทดลอง โดยพิจารณาช่วงระยะการเจริญเติบโตและระยะให้ผลผลิตร่วมด้วย
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150