Page 142 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 142

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                    132





                                กำรขับเคลื่อนงำนป้องกัน


          บทที่
                                กำรชะล้ำงพังทลำยของดิน

                                ในประเทศไทย










                       1) ทบทวนหลักเกณฑ์ในการก าหนดพื้นที่เป้าหมาย โดยใช้ฐานข้อมูลแผนที่ชะล้างพังทลายของดิน
               ปี 2563 และแผนที่การใช้ที่ดินที่เป็นข้อมูลล่าสุด ซึ่งต้องค านึงถึงสภาพภูมิประเทศของพื้นที่ โดยน าข้อมูล
               ผลการประเมินการสูญเสียดินในระดับรุนแรงขึ้นไป (>5 ตันต่อไร่ต่อปี) มาก าหนดเป็นพื้นที่เป้าหมาย
               จ านวน 31.8 ล้านไร่ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการซ้อนทับ (overlay) กับพื้นที่การใช้ที่ดินในปัจจุบัน  เพื่อให้ได้
               พื้นที่การเกษตรที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดินที่กรมพัฒนาที่ดินจะต้องด าเนินการปรับปรุงและฟื้นฟูพื้นที่
               เกษตรกรรม ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ า 20 ปี
                       2) จัดแบ่งพื้นที่เป้าหมายตามระบบลุ่มน้ าเดียวกันกับหน่วยงานเจ้าภาพหลัก คือ ส านักงานทรัพยากรน้ า
               แห่งชาติ (สทนช.) เพื่อแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก าหนดเป็นพื้นที่เป้าหมายที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของ
               ดินในลักษณะเชิงพื้นที่ (area based) บนฐานข้อมูลชุดเดียวกัน

                       3) กรมพัฒนาที่ดิน โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการโครงการเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลาย
               ของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ า จัดท าแผนปฏิบัติการระยะ20 ปี และถ่ายทอด
               แผนสู่การปฏิบัติให้กับคณะท างานจัดท าแผนบริหารจัดการโครงการเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและ
               ฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ าระดับลุ่มน้ าย่อย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด าเนินการ
               ตามแผนปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมาย
                       4) กองแผนงาน จัดท าแผนงานและงบประมาณ ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ และติดตามประเมินผล
               การด าเนินงานร่วมกับหน่วยงานด้านวิชาการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กองส ารวจดิน

               และวิจัยทรัพยากรดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน ส านักเทคโนโลยีการส ารวจและท าแผนที่ ส านัก
               วิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน ส านักวิศวกรรมเพื่อการพัฒนาที่ดิน และส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-12
                       5) หน่วยงานด้านวิชาการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กองส ารวจดินและวิจัย
               ทรัพยากรดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน ส านักเทคโนโลยีการส ารวจและท าแผนที่ ส านักวิทยาศาสตร์
               เพื่อการพัฒนาที่ดิน และส านักวิศวกรรมเพื่อการพัฒนาที่ดิน พัฒนางานวิจัยเพื่อก าหนดมาตรการด้าน
               งานอนุรักษ์ดินและน้ า และเทคโนโลยีด้านการจัดการดินที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาของพื้นที่
                       6) ส านักวิศวกรรมเพื่อการพัฒนาที่ดินศึกษาความเหมาะสมเพื่อออกแบบโครงร่างผังรวม (conceptual
               design) และส ารวจ ออกแบบ เพื่อการก่อสร้าง (detail design) ให้สอดคล้องกับแผนบริหารจัดการโครงการ
               ในแต่ละลุ่มน้ าย่อย
                       7) ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต และสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัด ด าเนินงานตามมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า

               ที่ได้ออกแบบไว้ ร่วมกับการด าเนินงานโครงการด้านการพัฒนาที่ดินตามความเหมาะสมในระดับพื้นที่ภายใต้
               แผนปฏิบัติการและแผนปฏิบัติราชการประจ าปี
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147