Page 23 - การจัดการดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 28 จังหวัดสระบุรี ภายใต้โครงการนำร่องการผลิตพืชตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในประชาคมอาเซียน
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        13



                   ตารางที่ 4 ปริมาณปุ๋ยเคมีในแต่ละวิธีการทดลอง

                                      การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา (กิโลกรัมต่อไร่)   ปริมาณธาตุอาหาร (กิโลกรัมต่อไร่)
                      วิธีการที่
                                    46-0-0      0-0-60       18-46-0        N           P           K

                         T1           25          20             -          11          -           12

                         T2           25          20             -          11          -           12
                         T3           14           7            9          8.06        4.14        4.20

                         T4           2           17            17         3.98        7.82       10.20
                         T5          10.4         10            15         7.48        6.90         6


                   หมายเหตุ:   T1 คือ วิธีเกษตรกร
                              T2 คือ วิธีเกษตรกรร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ
                              T3 คือ วิธีคําแนะนําการใช้ปุ๋ยตามโปรแกรมดินไทยและธาตุอาหารพืชร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ
                              T4 คือ วิธีคําแนะนําการใช้ปุ๋ยตามโปรแกรมการใช้ปุ๋ยรายแปลงร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ

                              T5 คือ วิธีคําแนะนําจากห้องปฏิบัติการร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ

                              2.2.7  การฉีดพ่นน้ําหมักชีวภาพ ฉีดพ่นน้ําหมักชีวภาพอัตรา 2  ลิตรต่อไร่ ต่อครั้ง เจือจาง
                   อัตรา 1 ต่อ 500 ต่อครั้ง ในวิธีการทดลองที่ 2 3 4 และ 5 โดยฉีดพ่นเมื่อมันสําปะหลังอายุ 60  90 และ

                   120 วัน
                              2.2.8 ดูแลรักษาแปลงทดลองอย่างสม่ําเสมอ
                          2.3 การเก็บข้อมูล
                              2.3.1 เก็บข้อมูลดินที่ระดับความลึก 0-20 เซนติเมตร ก่อนและหลังการทดลองของแต่ละ

                   วิธีการทดลอง
                              2.3.2 การเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของมันสําปะหลัง
                                    1)  ความสูงมันสําปะหลัง เก็บความสูงของต้นมันสําปะหลัง 3 ระยะ คือ เมื่ออายุ 90

                   120  และระยะเก็บเกี่ยว  โดยการวัดความสูงของต้นมันสําปะหลังจากพื้นดินจนถึงลําต้นที่แตกยอดอ่อน
                   โดยสุ่มเก็บ 100 ต้น ต่อวิธีการ
                                    2) ความกว้างทรงพุ่ม โดยเก็บความกว้างทรงพุ่มมันสําปะหลังเมื่อเก็บเกี่ยว โดยการวัด
                   เส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มของต้นมันสําปะหลัง โดยสุ่มเก็บ 100 ต้น ต่อวิธีการ
                                    3)  น้ําหนักหัวมันสําปะหลังต่อต้น  โดยชั่งน้ําหนักหัวมันสําปะหลังต่อต้นที่ขุดขึ้นมา

                   ระยะเก็บเกี่ยวโดยสุ่มเก็บ 100 ต้น ต่อวิธีการ
                                    4) เปอร์เซ็นต์แป้ง วัดโดยการส่งตรวจวัดเปอร์เซ็นต์แป้ง ณ สถานที่รับซื้อมันสําปะหลัง
                   โดยสุ่มวัด 5 กิโลกรัมต่อ 1 ตัวอย่าง จํานวน 5 ตัวอย่างในแต่ละวิธีการ

                                    5)  ผลผลิตมันสําปะหลังช่วงเก็บเกี่ยว  ได้มาจากการสุ่มเก็บผลผลิตมันสําปะหลังใน
                   พื้นที่ 25 ตารางเมตร 10 จุด ในแต่ละวิธีการ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28