Page 9 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                         1


                                                            บทที่1


                                                            บทน า

                   1.1 หลักการและเหตุผล

                          ในประเทศไทย ภาคใต้และภาคตะวันออกเป็นภาคที่มีความเหมาะสมในการปลูกยางพารา เป็น
                   เขตปลูกยางเดิม  พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกยางจะมีมีปริมาณฝนไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี และ
                   มีการกระจายของฝนประมาณ 100-150 วัน (สถาบันวิจัยยาง,  2553) ซึ่งจังหวัดตราดตั้งอยู่ในภาค

                   ตะวันออก มีปริมาณน้้าฝนเฉลี่ย 5,000 มิลลิเมตรต่อปี และมีการกระจายของฝนเฉลี่ย 204 วัน มากกว่า
                   ปริมาณฝนและการกระจายของฝนที่ยางพาราต้องการ ดังนั้นจึงเป็นจังหวัดที่มีความเหมาะสมในการปลูก
                   ยางพาราเป็นอย่างมาก ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดตราดเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุมคล้ายคลึงกับทาง
                   ภาคใต้ คือมีฝนตกชุกสลับกับฤดูแล้งสั้นๆ ฝนตกชุกตลอดทั้งปี เพราะมีพื้นที่ติดทะเลและภูเขาโอบล้อม จึง

                   ท้าให้ได้รับอิทธิพลของลมมรสุม ความลาดชันที่เหมาะสมในการปลูกยางพาราไม่ควรเกิน 12 เปอร์เซ็นต์
                   โดยสภาพภูมิประเทศของจังหวัดตราดมีลักษณะเป็นลูกคลื่น มีที่ราบสูงเป็นพื้นที่กว้างบริเวณเขาทางตอน
                   เหนือแผ่ลงมาทางตอนใต้กระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัด มีความลาดชัน 2-12 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีความเหมาะสม
                   ในการปลูกยางพารา ความลาดเอียงหรือลาดชันนี้ มีอิทธิพลต่อการระบายน้้าในดิน ส่งผลต่อการ

                   เจริญเติบโตและการให้ผลผลิตยางพารา (สถาบันวิจัยยาง, 2550)  ยางพาราสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดิน
                   ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงและปานกลาง แต่สามารถปรับตัวได้ในสภาพของดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่้าหรือ
                   ค่อนข้างต่้า ซึ่งดินในเขตปลูกยางพาราในภาคใต้และภาคตะวันออก เป็นดินในเขตปลูกยางเดิมมีความอุดม
                   สมบูรณ์มากกว่าดินปลูกยางพาราในเขตปลูกยางใหม่ ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นุชนา

                   รถ,  2542)  ลักษณะของดินที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพาราคือควรมีหน้าตัดดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร
                   โดยไม่มีชั้นหินของหินแข็งหรือดินดานขัดขวางการเจริญเติบโตของราก มีการระบายน้้าดี ไม่มีน้้าขัง และ
                   ระดับน้้าใต้ดินลึกกว่า 1 เมตร ลักษณะโครงสร้างของดินควรเป็นดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเหลี่ยมมุมมน มี

                   ความร่วนเหนียวพอเหมาะ อุ้มน้้าได้ดีเนื้อดินควรเป็นดินเหนียว ร่วนเหนียว ร่วน หรือร่วนปนทราย
                   กล่าวคือควรมีอนุภาคดินเหนียวอย่างน้อยประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ดินสามารถเก็บความชื้นและดูด
                   ซับธาตุอาหารได้ดี และควรมีอนุภาคดินทรายประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ดินมีการระบายน้้าและ
                   อากาศได้ดี เนื้อดินที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา ได้แก่ ชุดดินอ่าวลึก เป็นดินเหนียว ชุดดินภูเก็ต เป็น
                   ดินร่วนเหนียวปนทราย ชุดดินคอหงส์ เป็นดินร่วนปนทราย เป็นต้น ดินที่เป็นดินทรายซึ่งมีอนุภาคของดิน

                   ทรายประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ดินลักษณะนี้จะดูดน้้าและธาตุอาหารได้น้อย ท้าให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์
                   ต่้า และขาดความชื้นในฤดูแล้ง ส่วนคุณสมบัติทางเคมีควรเป็นดินที่มีธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง
                   อย่างเพียงพอ ความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 4.5-5.5 และไม่เป็นดินเกลือ (กรมวิชาการเกษตร, 2550)

                          พื้นที่ที่ปลูกยางพาราส่วนใหญ่ของจังหวัดตราด เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูกยางพารา
                   ระดับปานกลาง (S2) อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 45C ชุดดินคลองซาก ซึ่งเป็นดินตื้นในเขตดินชื้น มีพื้นที่จ้านวน
                   190,775 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 19.53 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ลักษณะคือ มีสภาพเป็นพื้นที่ลูกคลื่น
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14