Page 11 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                         3


                          2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน และผลผลิตของยางพารา ภายหลังการจัดการดินในแปลง
                   ทดสอบ บ้านหินโคร่ง หมู่ที่ 6 ต้าบลหนองโสน อ้าเภอเมือง จังหวัดตราด ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2)

                   ในการปลูกยางพารา
                          3. ศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ภายหลังการจัดการดินในแปลงทดสอบ บ้านหินโคร่ง หมู่ที่ 6

                   ต้าบลหนองโสน อ้าเภอเมือง จังหวัดตราด เพื่อลดต้นทุนการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เหมาะสมปานกลาง
                   (S2) ในการปลูกยางพารา


                   1.3 ระยะเวลาและสถานที่ด าเนินการ
                             ระยะเวลาในการด้าเนินงานรวม 3 ปี เริ่มต้นเดือนตุลาคม 2559 สิ้นสุดเดือน กันยายน 2561

                          สถานที่ด้าเนินการ แปลงยางพาราเกษตรกร บ้านหินโคร่ง หมู่ที่ 6 ต้าบลหนองโสน อ้าเภอเมือง
                   จังหวัดตราด พิกัด UTM zone 48P , 0221781E 1352555N ลักษณะดินเป็นกลุ่มชุดดินที่ 45 ชุดดิน

                   คลองซาก (Kc)  การจ้าแนกดินจัดอยู่ใน clayey-skeletal,  kaolinitic,  isohyperthermic  Typic
                   Kandihumults  เกิดจากวัตถุตกค้างและเศษหินเชิงเขาของหินดินดาน สภาพพื้นที่มีลักษณะค่อนข้าง

                   ราบเรียบ มีความลาดชัน 1-2 เปอร์เซ็นต์ เป็นดินตื้นปนกรวดลูกรังมาก มีการระบายน้้าดี เนื้อดินบนเป็น
                   ดินร่วนปนดินเหนียว สีน้้าตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0 ส่วนดิน

                   ล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนกรวดลูกรังถึงดินเหนียวปนกรวดลูกรังมาก พบชั้นลูกรังปริมาณมากกว่า
                   35 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ภายใน 50 เซนติเมตรจากผิวดิน สีพื้นเป็นสีน้้าตาลปนเหลือง สีน้้าตาลแก่ และ
                   สีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.0


                   1.4 ขั้นตอนและวิธีด าเนินการ
                          1. วิเคราะห์เขตพื้นที่เหมาะสมส้าหรับการปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2)  พร้อม

                   ทั้งข้อจ้ากัดในการใช้ประโยชน์เพื่อปลูกยางพาราและแนวทางการปรับปรุงดิน ในพื้นที่ต้าบลหนองโสน
                   อ้าเภอเมือง จังหวัดตราด

                          2. จัดท้าแปลงทดสอบการปรับปรุงดินเพื่อแก้ไขข้อจ้ากัด ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง
                   (S2) ในการปลูกยางพารา บ้านหินโคร่ง หมู่ที่ 6 ต้าบลหนองโสน อ้าเภอเมือง จังหวัดตราด กลุ่มชุดที่ 45C
                   ชุดดินคลองซาก ซึ่งเป็นกลุ่มชุดดินที่พบมากที่สุดในการปลูกยางพารา ของจังหวัดตราด ตามรายละเอียด

                   ดังนี้
                           3.1 การวางแผนการทดสอบ

                                  3.1.1 วางแผนการทดสอบ เพื่อเปรียบเทียบวิธีการใส่ปุ๋ยที่แตกต่างกันในการปรับปรุงดิน กับ
                   ต้นยางพาราที่ให้ผลผลิตแล้วอายุ 11 ปี จ้านวน 3 วิธี แต่ละวิธีใช้พื้นที่ในการทดสอบ 1 ไร่ จ้านวนยางพารา 76
                   ต้นต่อไร่ รวมพื้นที่ที่ท้าการทดสอบทั้งหมด 3 ไร่ ตามแผนผังการทดสอบดังนี้
                           วิธีที่ 1)  ใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร (ปุ๋ยเคมีสูตร 20-8-20 จ้านวน 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี)
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16